เบาหวานโรคที่ไม่หวานสมชื่อ กับ เซซามิน

[vc_row][vc_column][vc_column_text css=”.vc_custom_1531909488167{margin-bottom: 0px !important;}”]โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus: DM, Diabetes) เป็นภาวะที่ร่างกายมีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) หรือการดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน ส่งผลให้กระบวนการดูดซึมน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงานของเซลล์ในร่างกายมีความผิดปกติหรือทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จนเกิดน้ำตาลสะสมในเลือดปริมาณมาก หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้เป็นเวลานานจะทำให้อวัยวะต่าง ๆ เสื่อม เกิดโรคและอาการแทรกซ้อนขึ้น
โรคเบาหวาน
จากข้อมูลของสหพันธ์เบาหวานนานาชาติ (International Diabetes Federation, IDF) พบผู้ป่วยเบาหวานทั่วโลกราว 415 ล้านคนในปี 2558 และคาดการณ์ว่าจะมีจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคนี้มากถึง 642 ล้านคนในปี 2583 สำหรับสถานการณ์โรคเบาหวานในประเทศไทยพบว่า คนไทยช่วงอายุ 20-79 ปี เป็นโรคเบาหวานร้อยละ 7.1 หรือหมายความว่า ในจำนวนคน 100 คน จะพบคนที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานประมาณ 7 คน และจำนวนมากกว่าครึ่งไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคเบาหวาน สถิติการพบผู้ป่วยด้วยโรคนี้ยังมีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้ต้องมีการรณรงค์อย่างต่อเนื่องถึงภัยร้ายของโรค เพราะเป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หายขาด มีโอกาสเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนลุกลามใหญ่โตจนต้องสูญเสียอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย ทางสหพันธ์เบาหวานนานาชาติ และองค์การอนามัยโลก (WHO) จึงได้กำหนดให้วันที่ 14 พฤศจิกายนของทุกปีเป็นวันเบาหวานโลก เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของโรคนี้

ในปัจจุบัน ประเทศไทยยึดหลักเกณฑ์ตามสมาคมเบาหวานแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาในการจำแนกผู้ป่วยโรคเบาหวานด้วยการตรวจปริมาณน้ำตาลในเลือด หากผลการตรวจหลังงดอาหารและเครื่องดื่มมีน้ำตาลอยู่กระแสเลือดไม่เกิน 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร แสดงว่าระดับน้ำตาลในเลือดปกติ ทั้งนี้ระดับน้ำตาลในเลือดยังบ่งบอกถึงภาวะเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานได้ด้วย (Prediabetes) ซึ่งผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อภาวะเป็นเบาหวานสามารถพัฒนาการเกิดโรคเบาหวานประเภทที่ 2 (เบาหวานที่เกิดจากการที่ตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ไม่เพียงพอต่อการใช้) โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดในสมองในอนาคตได้ง่ายขึ้น
อาการของโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานในระยะแรกจะไม่แสดงอาการผิดปกติ บางรายอาจตรวจพบโรคเบาหวานเมื่อพบภาวะแทรกซ้อนขึ้นแล้ว อาการของโรคเบาหวานแต่ละชนิดอาจมีความคล้ายกัน ซึ่งอาการที่พบส่วนใหญ่ คือ กระหายน้ำมาก ปากแห้ง ปัสสาวะบ่อย หิวบ่อย น้ำหนักลดหรือเพิ่มผิดปกติ สายตาพร่ามัว เห็นภาพไม่ชัด รู้สึกเหนื่อยง่าย มีอาการชา โดยเฉพาะมือและขา บาดแผลหายยาก เป็นต้น ทั้งนี้ อาการของโรคเบาหวานประเภทที่ 1 จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะที่โรคเบาหวานประเภทที่ 2 จะแสดงอาการแบบค่อยเป็นค่อยไป ส่วนโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์มักเกิดขึ้นในช่วงอายุครรภ์ประมาณ 24-28 สัปดาห์

สาเหตุของโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานมีหลายประเภท สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ เบาหวานประเภทที่ 1 (Type 1 Diabetes) เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ เบาหวานประเภทที่ 2 (Type 2 Diabetes) เกิดจากการที่ตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ไม่เพียงพอต่อการใช้ หรือเกิดภาวะการดื้ออินซูลิน (Insulin Resistance) เบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes) เป็นโรคเบาหวานที่พัฒนาขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์จากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน โดยที่ผู้ป่วยไม่เคยเป็นโรคเบาหวานมาก่อน และเบาหวานจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น การใช้ยา หรือเกิดจากโรคชนิดอื่น

การวินิจฉัยโรคเบาหวาน

แพทย์จะสอบถามอาการผู้ป่วย ประวัติการเจ็บป่วยของผู้ป่วยและของบุคคลในครอบครัว และการตรวจร่างกาย และที่สำคัญต้องอาศัยการตรวจเลือด เพื่อดูระดับน้ำตาลในเลือดเป็นหลัก โดยมีวิธีการวิเคราะห์ระดับน้ำตาลในเลือดหลายวิธี ได้แก่

การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเวลาใดก็ได้ (Random/Casual Plasma Glucose Test)
การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง (Fasting Plasma Glucose: FPG)
การตรวจน้ำตาลเฉลี่ยสะสม หรือฮีโมโกลบิน เอ วัน ซี (Hemoglobin A1c: HbA1c)
การทดสอบการตอบสนองของฮอร์โมนอินซูลินต่อระดับน้ำตาลในเลือด (Oral Glucose Tolerance Test: OGTT)
หากผู้ป่วยไม่มีอาการของโรคเบาหวานชัดเจนคือ หิวน้ำมาก ปัสสาวะบ่อยและมาก น้ำหนักตัวลดลง โดยที่ไม่มีสาเหตุ การตรวจด้วยวิธีทั้งหมดข้างต้นจำเป็นต้องมีการตรวจซ้ำอย่างน้อย 1 ครั้งด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งอีกครั้งหนึ่งเพื่อยืนยันผลการวินิจฉัย

ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานเป็นโรคที่ส่งผลให้ผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่าปกติ หากไม่มีการควบคุมในเรื่องของการรับประทานอาหารและดูแลรักษาสุขภาพอย่างถูกวิธี ปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเป็นเวลานาน จะส่งผลต่อเส้นเลือดที่นำสารอาหารไปเลี้ยงอวัยวะในร่างกายจนนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ทั้งโรคแทรกซ้อนชนิดที่เกิดกับเส้นเลือดขนาดเล็ก (microvascular complications) เช่น เบาหวานขึ้นตา โรคไต หรือโรคแทรกซ้อนชนิดที่เกิดกับเส้นเลือดขนาดใหญ่ (macrovascular complications) เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน รวมไปถึงโรคแทรกซ้อนที่ระบบประสาทและที่สามารถทำให้ผู้ป่วยต้องสูญเสียอวัยะบางส่วน นอกจากนี้สตรีมีครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวานจะเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษ การแท้งบุตรได้

การรักษาโรคเบาหวาน

การรักษาผู้ป่วยเบาหวานในประเภทที่ 1 จำเป็นต้องได้รับฮอร์โมนอินซูลินเข้าไปทดแทนในร่างกายด้วยการฉีดยาเป็นหลัก ควบคู่ไปกับการคุมอาหารและออกกำลังกายที่เหมาะสม ในขณะที่โรคเบาหวานประเภทที่ 2 หากเป็นในระยะแรก ๆ สามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานอาหารที่เหมาะสม การออกกำลัง และควบคุมน้ำหนัก หากอาการไม่ดีขึ้น แพทย์อาจให้ยาควบคู่ไปด้วยหรือฉีดอินซูลินเข้าไปทดแทนเช่นเดียวกับโรคเบาหวานชนิดที่ 1

สำหรับผู้เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ควรเข้าฝากครรภ์กับแพทย์ตั้งแต่ในระยะแรก พร้อมทั้งควบคุมอาหารที่รับประทานและออกกำลังกายตามคำแนะนำของแพทย์

การป้องกันโรคเบาหวาน   

สิ่งสำคัญของการป้องกันโรคเบาหวานทุกชนิด คือ ต้องคอยหมั่นระวังระดับน้ำตาลในเลือดและคอเลสเตอรอลให้อยู่เกณฑ์ปกติ เน้นการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และสารอาหารครบถ้วน มีกากใยสูง หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่ รวมถึงการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หากเป็นสตรีมีครรภ์ควรเข้ารับการฝากครรภ์ตั้งแต่เนิ่น ๆ พบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ และได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวานหากมีความเสี่ยง เพื่อสามารถตรวจพบโรคเบาหวานได้ในระหว่างการตั้งครรภ์[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column][vc_column_text css=”.vc_custom_1531909740267{margin-bottom: 0px !important;}”][/vc_column_text][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column][vc_column_text css=”.vc_custom_1531910077122{margin-bottom: 0px !important;}”]  ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับเบาหวาน

ความเชื่อ1: รับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูงทำให้เป็นเบาหวาน

ความจริง: โรคเบาหวานมี 2 ชนิดคือ เบาหวานประเภทที่1 (Diabetes Type1) เกิดจากสาเหตุพันธุกรรมและยังไม่ทราบปัจจัยแน่ชัดทำให้ตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ เบาหวานประเภทที่ 2 (Diabetes Type2) เกิดจากสาเหตุทางพันธุกรรมและพฤติกรรมการใช้ชีวิต มีผลให้การสร้างอินซูลินไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย หรือร่างกายดื้อต่ออินซูลิน การรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูงเป็นเวลานานก็เป็นปัจจัยส่งเสริมให้เป็นเบาหวานได้ หากร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินออกมาเพียงพอ นอกจากนี้อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวมีผลต่อการออกฤทธิของอินซูลิน ทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดีก็ควรหลีกเลี่ยง

ความเชื่อ2: เบาหวานเป็นโรคของคนแก่

ความจริง: โรคเบาหวานสามารถเกิดได้กับคนทุกช่วงอายุ ขึ้นอยู่กับสาเหตุและปัจจัยส่งเสริมให้เกิดโรคเบาหวาน เบาหวานประเภทที่ 1 ส่วนใหญ่มักเกิดในเด็ก หรือคนอายุน้อย ส่วนเบาหวานประเภทที่ 2 ส่วนใหญ่มักเกิดในคนอายุ 45 ปีขึ้นไป แต่ปัจจุบันเริ่มพบคนเป็นเบาหวานประเภทที่ 2 อายุน้อยลง

ความเชื่อ3: คนที่เป็นเบาหวานจะรู้ตัวหากมีน้ำตาลในเลือดต่ำ

ความจริง: อาการของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ คือวิงเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย ตัวเย็น เหงื่อออก อาการใจสั่น หัวใจเต้นแรง ปากแห้ง ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีอาการเมื่อมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือ อาการแต่ละบุคคลอาจแตกต่างกัน จึงควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเมื่อมีอาการหรือสงสัยว่ามีน้ำตาลในเลือดต่ำ และรีบแก้ไขทันที เพราะภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ มีผลให้เกิดภาวะช็อค หรือเสียชีวิตได้

ความเชื่อ4: เบาหวานเป็นโรคไม่น่ากลัว ใครๆก็เป็นกัน

ความจริง: เบาหวานเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของคนไทยปีละประมาณ 20,000 คน นอกจากนี้เบาหวานเกี่ยวข้องกับการเป็นโรคอื่นๆ เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ และพบว่าคนที่เป็นโรคหัวใจและเป็นเบาหวานร่วมด้วย มีความเสี่ยงเกิดอาการหัวใจวายหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันมากกว่าเกือบสองเท่าของคนที่ไม่เป็นเบาหวานร่วมด้วย นอกจากนี้ หากการควบคุมเบาหวานไม่ดี ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ เช่นตาบอด ผิวหนังอักเสบติดเชื้อ เซลล์ประสาทถูกทำลาย

ความเชื่อ5: เป็นเบาหวานห้ามกินขนมหวาน หรืออาหารที่มีความหวาน

ความจริง: เพราะภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเป็นผลให้เกิดเบาหวาน คนส่วนใหญ่จึงคิดว่าควรงดอาหารที่มีความหวาน หรือมีน้ำตาล แต่อย่างไรก็ตาม หากรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ในสัดส่วนที่เหมาะสม ร่วมกับการออกกำลังกาย การรับประทานผลไม้ หรือขนมหวานก็ยังสามารถรับประทานได้แต่ไม่ควรมากเกินไป

ความเชื่อ6: เป็นเบาหวานห้ามให้เลือด  

ความจริง: เป็นเบาหวานสามารถให้เลือดได้ ถ้าการควบคุมระดับน้ำตาลอยู่ในเกณฑ์ปกติ และไม่มีภาวะแทรกซ้อนของเบาหวาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ผู้รับบริจาคโลหิตอีกครั้ง

ความเชื่อ7: เบาหวานเป็นโรคของคนอ้วน

ความจริง: ไม่ว่าคนอ้วนหรือคนผอมก็สามารถเป็นเบาหวานได้ เพราะเบาหวานเกิดจากหลายสาเหตุทั้งจากพันธุกรรม พฤติกรรมการใช้ชีวิต รับประทานอาหารมีแคลอรี่สูง น้ำตาลสูง และไม่ออกกำลังกาย ความเครียด นอนพักผ่อนไม่เพียงพอ ปัจจัยเหล่านี้สามารถส่งผลให้เกิดเบาหวานได้แต่พบว่าคนอ้วนเป็นเบาหวานมากกว่า เนื่องจากพฤติกรรมการกิน และการวิจัยพบว่าในคนอ้วนส่วนใหญ่ระดับการผลิตอินซูลินปกติ หรือมากกว่าปกติ แต่เซลล์ในร่างกายมีผลดื้อต่ออินซูลิน

ความเชื่อ8: ในครอบครัวไม่มีใครเป็นโรคเบาหวาน เพราะฉนั้นเราจะไม่เป็นเบาหวาน

ความจริง: ปัจจัยทางพันธุกรรมเป็นหนึ่งในหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดเบาหวานประเภทที่ 2 ถึงแม้ว่าไม่มีคนในครอบครัวเป็นเบาหวาน แต่เราก็สามารถเป็นได้หากใช้พฤติกรรมไม่เหมาะสม

ความเชื่อ9: ถ้าเป็นเบาหวานต้องฉีดอินซูลิน แสดงว่าอาการแย่แล้ว

ความจริง: การรักษาโรคเบาหวาน มีเป้าหมายควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน กรณีที่ควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย ใช้ยารับประทานแล้วยังไม่สามรถคุมระดับน้ำตาลได้ จึงจำเป็นต้องใช้ยาฉีดอินซูลินร่วมด้วย

ความเชื่อ10: เป็นเบาหวานต้องรักษาด้วยอินซูลิน

ความจริง: การรักษาเบาหวานประเภทที่ 2 สามารถป้องกัน ควนคุมโรคได้ด้วย การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ถูกสัดส่วน การออกกำลังกาย และรับประทานยาร่วมด้วยแต่หากยังไม่สามรถควบคุมระดับน้ำตาลได้ตามเกณฑ์ จึงมีการใช้อินซูลินร่วมด้วย ส่วนเบาหวานประเภทที่ 1 เนื่องจากสาเหตุของพันธุกรรม ระบบภูมิคุ้มกัน มีผลให้ไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ จึงต้องรักษาโดยการให้อินซูลินเป็นหลัก[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column][vc_column_text css=”.vc_custom_1531910103205{margin-bottom: 0px !important;}”][/vc_column_text][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column][vc_column_text css=”.vc_custom_1531910319412{margin-bottom: 0px !important;}”]เบาหวาน โรคที่ไม่หวานสมชื่อ เพราะเมื่อเป็นแล้วจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคตา โรคของระบบประสาท รวมถึงโรคของหลอดเลือดส่วนปลาย และถึงแม้โรคนี้จะเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ก็สามารถควบคุมระดับน้ำตาลไม่ให้สูงเกินไปหรือควบคุมลงมาสู่ระดับของคนปกติได้หากรู้จักดูแลตนเองและมาพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ

เบาหวาน คือ โรคที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ โดยเกิดจากความผิดปกติของการใช้น้ำตาล ทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้ตามปกติ ทำให้มีระดับน้ำตาลสูงขึ้น

ทำความรู้จักชนิดของเบาหวาน
อาการของโรคเบาหวาน
การวินิจฉัยเบาหวาน

ทำความรู้จักชนิดของเบาหวาน
โรคเบาหวานแบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือ

เบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากการขาดอินซูลิน เนื่องจากตับอ่อนไม่สามารถหลั่งอินซูลินได้เลย (อินซูลินเป็นฮอร์โมนที่สร้างจากตับอ่อน ทำหน้าที่ช่วยนำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ของร่างกาย เพื่อเผาผลาญเป็นพลังงานในการดำรงชีวิต) เบาหวานชนิดนี้มักพบในเด็กและผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี

เบาหวานชนิดที่ 2 พบมากในคนส่วนใหญ่ เกิดจากการที่เซลล์ของร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินได้ไม่ดีหรือที่เรียกว่าภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้ร่างกายเหมือนขาดอินซูลินไประดับหนึ่ง ร่างกายต้องทดแทนโดยการสร้างอินซูลินออกมามากขึ้น จนตับอ่อนทำงานมากขึ้นจนทำงานไม่ไหวถ้าไม่ช่วยแก้ไข นอกจากนี้ตับอ่อนของผู้ป่วยเบาหวานชนิดนี้ยังสร้างอินซูลินได้ไม่มากเท่าคนปกติด้วย จึงมีระดับอินซูลินที่ไม่พอเพียงแก่ความต้องการ สาเหตุของภาวะดื้ออินซูลิน ได้แก่ พันธุกรรม ความอ้วน และการไม่ออกกำลังกาย ดังนั้น หากมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน ร่วมกับมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ก็จะมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานได้มากขึ้น

เบาหวานชนิดที่ 3 เป็นเบาหวานชนิดที่มีสาเหตุชัดเจน เช่น โรคตับอ่อนอักเสบ ตับอ่อนถูกตัด โรคที่มีเหล็กสะสมมากเกินไปในตับจนทำให้ตับเสียหาย การรับประทานยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ การได้รับสารเคมี ความผิดปกติของฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต

เบาหวานชนิดที่ 4 เป็นเบาหวานที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ มักเกิดในผู้ที่ไม่มีประวัติเป็นเบาหวานมาก่อนตั้งครรภ์ เมื่อคลอดแล้วเบาหวานก็จะหายไป แต่คนกลุ่มนี้มีความเสี่ยงที่จะเกิดเป็นเบาหวานได้อีกในอนาคต  

อาการของโรคเบาหวาน
ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะต้องตื่นมาปัสสาวะตอนกลางคืน
หิวน้ำบ่อย
หิวบ่อย รับประทานจุ แต่น้ำหนักลด
ผิวแห้ง
เป็นแผลแล้วหายยาก
ตาพร่ามัว
ชาบริเวณปลายมือปลายเท้า
หย่อนสมรรถภาพทางเพศ
หากมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้น อย่ารอช้า ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที อย่างไรก็ดี ไม่ควรรอจนอาการต่างๆ เหล่านี้เกิดขึ้น เพราะบางครั้งกว่าจะเกิดอาการเหล่านี้ ระดับน้ำตาลในเลือดก็อาจสูงเกินไปแล้ว ทางที่ดีควรหมั่นตรวจสุขภาพและตรวจเช็กระดับน้ำตาลในเลือดอยู่เสมอ โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวาน ได้แก่ ผู้ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป ผู้ที่มีญาติสายตรง เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง เป็นโรคเบาหวาน ผู้ที่เคยมีประวัติความทนต่อน้ำตาลบกพร่องหรือมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน ผู้ที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย ผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูง และผู้ที่มีระดับไขมันในเลือดผิดปกติ

การวินิจฉัยเบาหวาน
วิธีที่จะทำให้ทราบว่ามีระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือเป็นเบาหวานหรือไม่ แพทย์สามารถวินิจฉัยได้จากระดับน้ำตาลในเลือดหลังจากงดอาหาร ถ้าปกติระดับน้ำตาลจะน้อยกว่า 100 มก./ดล. ถ้าอยู่ระหว่าง 100-125 มก./ดล. ถือเป็นภาวะที่มีความเสี่ยง แต่ยังไม่เป็นเบาหวาน หรือบางครั้งเราจะเรียกภาวะนี้ว่าเป็นเบาหวานแฝง แต่ถ้าเกิน 126 มก./ดล. จะจัดว่าเป็นเบาหวาน

ในผู้ป่วยบางราย แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจค่าน้ำตาลหลังรับประทานอาหารไปแล้ว 2 ชั่วโมง ถ้าร่างกายเอาน้ำตาลไปใช้ได้ดี ค่าน้ำตาลควรน้อยกว่า 140 มก./ดล. แต่ถ้าเกิน 200 มก./ดล. จะจัดว่าเป็นเบาหวาน หากอยู่ระหว่าง 140-199 มก./ดล. จะอยู่ในเกณฑ์เสี่ยงแต่ยังไม่เป็นเบาหวาน หรือจะเรียกว่าเป็นเบาหวานแฝงก็ได้เช่นกัน

นอกจากนี้ ในปัจจุบันยังมีการตรวจค่าน้ำตาลสะสม (HbA1c) ซึ่งเป็นค่าที่ใช้บอกระดับน้ำตาลในเลือดในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ถ้าค่า HbA1c สูงแสดงว่าที่ผ่านมา 3 เดือนมีระดับน้ำตาลสูง แม้จะมีระดับน้ำตาลในเลือดเป็นปกติก็ตาม ทั้งนี้ค่า HbA1c ปกติจะอยู่ที่ 4.3-5.6% ถ้ามีค่าอยู่ระหว่าง 5.7-6.4% ถือว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวานได้ในอนาคตหรือเป็นเบาหวานแฝงได้ ถ้ามีค่าตั้งแต่ 6.5% ขึ้นไปแสดงว่าเป็นเบาหวาน อย่างไรก็ตามการจะใช้ค่า HbA1c มาตัดสินว่าเป็นเบาหวานหรือไม่เป็นนั้นยังไม่เป็นที่ยอมรับชัดเจนเพราะการตรวจ HbA1c ยังไม่ได้มาตรฐานในการตรวจบางวิธี

ดังนั้น เมื่อทราบแล้วว่าตนเองจัดอยู่ในกลุ่มไหน ถ้าเป็นเบาหวาน ควรรีบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและอาจต้องรับประทานยาตามแพทย์สั่ง หากเป็นกลุ่มเสี่ยงจะต้องป้องกัน เพราะหากปล่อยไว้โดยไม่หาทางป้องกัน จะมีโอกาสเป็นเบาหวานได้สูงมาก

ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อเป็นเบาหวาน
รับประทานอาหารอย่างถูกต้องและเหมาะสมตามหลักโภชนาการในปริมาณที่พอดีกับที่ร่างกายต้องการ ไม่รับประทานมากจนเกินไป อาจแบ่งมื้ออาหารเป็นเช้า กลางวัน เย็น และมื้ออาหารว่างตอนสายหรือบ่าย
หลีกเลี่ยงอาหารที่รับประทานแล้วมีระดับน้ำตาลสูงขึ้น เช่น น้ำตาลทราย เครื่องดื่มที่มีน้ำตาล
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ในแต่ละวันไม่ควรอยู่นิ่งๆ ควรมีการขยับเขยื้อนร่างกาย เช่น เดินขึ้นลงบันได จอดรถให้ไกลเล็กน้อยเพื่อจะได้เดิน
หมั่นตรวจน้ำตาลด้วยตนเอง เพื่อให้ทราบระดับน้ำตาลในเลือด
ดูแลทำความสะอาดเท้า ระมัดระวังอย่าให้เกิดบาดแผล
รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างต่อเนื่อง
พบแพทย์ตามนัด[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row]

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *


The reCAPTCHA verification period has expired. Please reload the page.

Scroll to Top