เซซามิน ต้าน มะเร็งปอด (Lung Cancer)

[vc_row][vc_column][vc_column_text css=”.vc_custom_1531917176157{margin-bottom: 0px !important;}”]มะเร็งปอด (Lung Cancer) คือ เซลล์ส่วนใดส่วนหนึ่งภายในปอดที่มีความผิดปกติ และเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นก้อนเนื้อร้ายจนอาจแพร่กระจายไปสู่ส่วนอื่นของร่างกาย

  ในบทความนี้จะกล่าวถึงเพียงมะเร็งปอดที่เริ่มต้นจากเนื้อเยื่อภายในปอดเอง (Primary Lung Cancer) เนื่องจากมะเร็งปอดที่ตรวจพบมีหลายชนิด และเมื่อมีการแบ่งประเภทของมะเร็งปอดที่เกิดจากเนื้อเยื่อปอดเพียงอย่างเดียวโดยดูตามขนาดของเซลล์บริเวณที่เกิดมะเร็งจะพบได้บ่อยอยู่ 2 ชนิด ได้แก่ มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก (Non-small Cell Lung Cancer) พบอัตราการเกิดได้บ่อยถึง 80-85% และมะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (Small Cell Lung Cancer) พบได้ประมาณ 10%-15% อีกทั้งยังมีแนวโน้มในการแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว

มะเร็งปอด

อาการของมะเร็งปอด

มะเร็งปอดส่วนมากจะไม่ค่อยแสดงอาการในระยะแรก แต่จะมีสัญญาณที่บ่งบอกถึงการเกิดโรคเมื่อมีการเจริญเติบโตของมะเร็งมากขึ้น สามารถสังเกตได้จาก

ไอเรื้อรังเป็นระยะเวลานาน
ไอปนเลือด
หายใจเหนื่อยหอบ หรือหายใจลำบากเป็นระยะเวลานาน
เจ็บหน้าอก
เบื่ออาหาร
น้ำหนักลดลงโดยไม่มีสาเหตุ
ปวดหรือเจ็บขณะหายใจหรือไอ
นอกจากนี้ยังมีบางอาการที่อาจเกิดขึ้นได้ แต่พบได้น้อย เช่น หายใจมีเสียงวีด รูปร่างของปลายนิ้วและเล็บเปลี่ยนแปลงไป ไข้ขึ้นสูง กลืนอาหารลำบาก เสียงแหบ ใบหน้าและคอมีอาการบวม

สาเหตุของมะเร็งปอด

การสูบบุหรี่ ถือเป็นสาเหตุหลักของมะเร็งชนิดนี้ถึง 85% ของสาเหตุการเกิดทั้งหมด เนื่องจากภายในบุหรี่ประกอบไปด้วยสารพิษที่เป็นอันตรายและยังมีสารก่อมะเร็งมากกว่า 60 ชนิด ซึ่งสามารถพัฒนาให้เกิดมะเร็งปอด รวมไปถึงมะเร็งชนิดอื่นอย่างมะเร็งในช่องปากและมะเร็งหลอดอาหารได้ในภายหลัง นอกจากนี้ยาสูบประเภทอื่น เช่น ยานัด ซิการ์ ยาเส้น กัญชาผสมบุหรี่ ก็ยังสามารถเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งปอดได้มากขึ้นด้วยเช่นกัน สารก่อมะเร็งเหล่านี้เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะไปทำลายเนื้อเยื่อภายในปอดได้ทันที ซึ่งปกติร่างกายจะพยายามซ่อมแซมแซมความเสียหายที่เกิดขึ้น แต่หากมีการสูดดมเข้าไปมากขึ้นจะส่งผลให้เกิดความเสียหายกับเซลล์มากขึ้นจนร่างกายซ่อมแซมไม่ทัน กระทั่งเกิดความเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์ที่ผิดปกติที่สามารถกลายเป็นมะเร็งบริเวณปอดได้

นอกเหนือจากการสูบบุหรี่ ยังพบว่ามีสาเหตุอื่น ๆ ที่สามารถก่อให้เกิดมะเร็งปอดได้เช่นกัน ได้แก่

สูดดมควันบุหรี่จากคนรอบข้าง หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า ควันบุหรี่มือสอง ถึงแม้ไม่ได้สูบบุหรี่ แต่การได้รับควันบุหรี่จากผู้คนรอบข้างที่สูบก็สามารถเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดมะเร็งปอดได้ไม่แพ้กับการสูบบุหรี่โดยตรง เพราะสามารถรับสารพิษหรือสารก่อมะเร็งได้ด้วยวิธีการเดียวกัน มีผลงานวิจัยพบว่าผู้ที่อาศัยร่วมกับผู้ที่สูบบุหรี่มีโอกาสในการเป็นมะเร็งปอดได้ถึง 20-30% เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้อยู่กับผู้ที่สูบบุหรี่
ก๊าซเรดอน สารกัมมันตรังสีที่มีอยู่ทั่วไป อาจมาจากดิน หิน หรืออาจพบในอาคารบางแห่ง หากสูดดมเอาก๊าซชนิดเข้าไปมาก ๆ อาจส่งผลให้ปอดได้รับความเสียหาย โดยเฉพาะผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ
สารพิษและมลภาวะ สารเคมีและมลภาวะต่าง ๆ ที่ได้รับในแต่ละวันก็เพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งปอดได้สูงขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่ต้องประกอบอาชีพเกี่ยวข้องกับสารเคมีหรืออยู่ในภาคอุตสาหกรรมซึ่งทำให้ได้รับสารเหล่านี้เข้าไปเป็นประจำโดยไม่รู้ตัว ตัวอย่างสารเหล่านี้ เช่น สารหนู ถ่านหิน แร่ใยหิน เบริลเลียม แคดเมียม ถ่านโค้ก ซิลิกา นิกเกิล นอกจากนี้ การได้รับเอาควันเสียจากยานพาหนะปริมาณมากจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงขึ้นเป็น 50% งานวิจัยพบว่า ผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตที่มีก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ที่ผลิตจากรถยนต์หรือพาหนะอื่นมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอดถึง 3 เท่า
ปอดมีการติดเชื้อ เนื้อเยื่อปอดที่มีการติดเชื้อหรือถูกทำลายจากโรคต่าง ๆ เช่น โรคหนังแข็ง (Scleroderma) หรือวัณโรค ที่เสี่ยงต่อการเกิดเนื้องอกในเนื้อเยื่อปอด ก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดได้
การวินิจฉัยมะเร็งปอด

แพทย์จะสอบถามผู้ป่วยเบื้องต้นเกี่ยวกับสุขภาพโดยทั่วไป อาการผิดปกติที่พบ และอาจมีการตรวจการหายใจด้วยเครื่องสไปโรมิเตอร์ (Spirometer) เพื่อดูปริมาตรของอากาศที่หายใจเข้า-ออกจากปอดด้วยการหายใจ รวมไปถึงพิจารณาการตรวจเลือด เพื่อหาสาเหตุของอาการผิดปกติที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ หรือการตรวจด้านอื่นเพิ่มเติม เช่น

การเอกซเรย์ทรวงอก (Chest X-ray) นิยมใช้เป็นวิธีการตรวจวินิจฉัยมะเร็งปอดเบื้องต้น หากพบเนื้องอกในปอดจะแสดงเป็นลักษณะโทนสีขาว-เทาให้เห็นถึงสภาพปอดของผู้ป่วย อย่างไรก็ตามวิธีนี้ไม่สามารถแยกความชัดเจนระหว่างก้อนเนื้อมะเร็งหรือสภาวะอื่น ๆ ที่อาจเกิดกับปอดได้ อย่างโรคฝีในปอด (Lung Abscess) ก่อนที่แพทย์จะตรวจด้วยวิธีอื่นเพิ่มเติม เพื่อดูอีกครั้งว่าสิ่งผิดปกตินั้นเป็นมะเร็งปอดหรือไม่ รวมถึงชนิดของมะเร็ง และการแพร่กระจายของมะเร็ง
การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือซีทีสแกน (CT-scan) เป็นวิธีการตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะภายในโดยรังสีเอกซ์ก่อนที่จะสร้างออกมาเป็นภาพด้วยเครื่องมือพิเศษ เพื่อให้แพทย์สามารถเห็นเนื้อปอดได้ชัดเจนยิ่งขี้น โดยแพทย์อาจมีการตรวจด้วยวิธีนี้หลังการเอกซเรย์ทรวงอก ก่อนการทำซีทีสแกนแพทย์อาจจะฉีดสารทึบแสงให้แก่ผู้ป่วย ซึ่งสารทึบแสงนี้จะทำให้สามารถตรวจพบสิ่งผิดปกติภายในปอดได้ชัดขึ้น การทำซีทีสแกนจะไม่ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดความเจ็บปวด และใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที
การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เพทซีทีสแกน (Positron Emission Tomography-Computerised Tomography: PET-CT Scan) อาจจะมีการตรวจในกรณีหลังจากการตรวจพบสิ่งปกติที่คาดว่าน่าจะเป็นมะเร็งภายหลังการตรวจซีทีสแกน โดยจะช่วยประเมินการแพร่กระจายของมะเร็ ทำให้รู้ได้ว่าผู้ป่วยเป็นมะเร็งอยู่ในขั้นใด ซึ่งจะช่วยในการวินิจฉัยและการรักษาได้ตรงจุดมากขึ้น ก่อนทำการตรวจเพทซีทีสะแกน แพทย์จะฉีดสารกัมมันตรังสีให้แก่ผู้ป่วยก่อนผ่านเข้าเครื่องตรวจ การตรวจด้วยวิธีนี้จะไม่ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดความเจ็บปวด และใช้เวลาประมาณ 30-60 นาที
การส่องกล้องและการตัดชิ้นเนื้อ (Bronchoscopy และ Biopsy) หากพบสิ่งผิดปกติที่คาดว่าน่าจะเป็นมะเร็งบริเวณกลางหน้าอก แพทย์อาจใช้วิธีการส่องกล้องโดยใช้ท่อขนาดเล็กสอดลงไปในหลอดลม เพื่อตรวจดูความผิดปกติของปอดและตัดชิ้นเนื้อบางส่วนออกมาตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ ก่อนทำการส่องกล้อง แพทย์อาจจะให้ผู้ป่วยรับประทานยาที่ช่วยคลายกังวล เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายขึ้นก่อนทำการตรวจ ซึ่งเป็นวิธีที่รวดเร็วและใช้เวลาไม่นาน
แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถใช้วิธีการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจด้วยวิธีการข้างต้นได้ แพทย์อาจพิจารณาวิธีอื่นในการใช้ในการวินิจฉัยโรค เช่น การเจาะตัดชิ้นเนื้อผ่านผิวหนังด้วยเข็มขนาดเล็ก (Percutaneous Needle Biopsy) การผ่าตัดปอดโดยใช้กล้องส่อง (Thoracoscopy) หรือการส่องกล้องในช่องอก (Mediastinoscopy)

การรักษามะเร็งปอด 

เมื่อได้รับผลการวินิจฉัยที่แน่นอนว่าเป็นมะเร็งปอด แพทย์จึงสามารถระบุถึงวิธีที่ใช้ในการรักษาได้ แต่ทั้งนี้ยังต้องดูจากหลายปัจจัยประกอบกันด้วย เช่น ความรุนแรงของโรคว่าผู้ป่วยอยู่ในขั้นใด ชนิดของมะเร็งปอด วิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละบุคคล หรือแม้แต่โอกาสในการรักษามะเร็งให้หายขาด เพื่อการวางแผนการรักษาผู้ป่วยที่ได้รับประโยชน์สูงสุด

การผ่าตัด (Surgery) เป็นการผ่าเอาเนื้อเยื่อปอดบางส่วนที่มีเซลล์มะเร็งออกหรือผ่าตัดเอาปอดทั้งข้างออกเมื่อตรวจพบการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งไปทั่วปอด ทั้งนี้แพทย์อาจมีการเลาะต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียงออกด้วยหากเกิดการลุกลามของเซลล์มะเร็งไปยังต่อมน้ำเหลือง วิธีนี้เป็นการรักษาที่เหมาะสำหรับมะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก
การรักษาด้วยเคมีบำบัดหรือคีโม (Chemotherapy) เป็นการใช้ยาในหลายรูปแบบ เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอกหรือทำลายเซลล์มะเร็งในร่างกายในช่วงระหว่างเวลาหนึ่ง โดยอาจจะใช้รักษาก่อนการผ่าตัดเพื่อช่วยในการทำลายเซลล์มะเร็งได้ง่ายขึ้น ในบางรายการทำเคมีบำบัดอาจช่วยบรรเทาอาการปวดหรืออาการอื่นของมะเร็งในระยะแพร่กระจายได้ นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาการรักษาเคมีบำบัดในรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า ยาตรงเป้า (Targeted Therapy) สำหรับรักษาผู้ป่วยมะเร็งที่มีเซลล์มะเร็งตอบสนองต่อยา ซึ่งจำเป็นต้องตรวจชิ้นเนื้อจากก้อนมะเร็ง เพื่อให้ทราบผลการตอบสนองของเซลล์มะเร็งต่อยาก่อน
การฉายแสง (Radiation Therapy) เป็นการใช้รังสีในปริมาณสูงฉายไปบริเวณที่เกิดมะเร็งปอดขึ้นโดยตรง เพื่อกำจัดเซลล์มะเร็ง มักจะใช้ควบคู่กับวิธีการรักษาอื่น ๆ เช่น การผ่าตัด การทำเคมีบำบัด
โรคมะเร็งปอดเป็นโรคที่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต แต่ยังมีโอกาสการรักษาให้หายขาดได้ หากผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในระยะต้นของการเกิดโรคได้เร็วมากเท่าไหร่ยิ่งส่งผลดีต่อการรักษาได้มากเท่านั้น แต่หากผู้ป่วยอยู่ในระยะที่มะเร็งมีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นหรือระยะสุดท้ายจะรักษาไม่หายขาด

ภาวะแทรกซ้อนของโรคมะเร็งปอด

มะเร็งปอดสามารถก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้หลายกรณี ดังนี้

ภาวะมีน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอด (Pleural Effusion) เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นจากการมีของเหลวหรือน้ำเข้าไปสะสมอยู่ในโพรงเยื่อหุ้มปอดมากผิดปกติ อาจทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาในการหายใจ
หายใจสั้น หากก้อนมะเร็งขยายใหญ่ขึ้นจนบดบังทางเดินในระบบทางเดินหายใจหลักจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีปัญหาทางด้านการหายใจ เนื่องจากเกิดการสะสมของของเหลวภายในปอด ทำให้ปอดมีการขยายตัวได้ไม่เต็มที่เมื่อมีการหายใจเข้า
ไอเป็นเลือด (Hemoptysis) มะเร็งปอดสามารถทำให้เกิดอาการเลือดออกภายในทางเดินหายใจ ซึ่งเป็นสาเหตุของการไอเป็นเลือด และอาจส่งผลรุนแรงได้หากมีปริมาณมาก
มะเร็งแพร่กระจายไปบริเวณอื่น ผู้ป่วยมะเร็งปอดในระยะลุกลามอาจทำให้เกิดการแพร่กระจายโรคไปยังบริเวณอวัยวะอื่นในร่างกาย เช่น กระดูก ปอด ตับ
การป้องกันโรคมะเร็งปอด

โรคมะเร็งปอดยังไม่มีวิธีใดที่สามารถป้องกันการเกิดโรคได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แต่สามารถปฏิบัติตามคำแนะนำ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้

ไม่สูบบุหรี่หรือเลิกสูบหรี่ เนื่องจากบุหรี่เป็นสาเหตุหลักของการเกิดมะเร็งปอด การลด ละ เลิก หรือเลี่ยงการสูบหรี่ รวมไปถึงยาสูบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น ยานัด ยาเส้น ซิการ์ ทำให้การได้รับสารพิษหรือสารก่อมะเร็งที่ได้รับเข้าสู่ร่างกายน้อยลง ยิ่งมีการสูบหรี่นานเท่าไหร่ก็อาจทำให้การเลิกบุหรี่ทำได้ยากมากขึ้นเท่านั้น แพทย์อาจช่วยให้ผู้ป่วยเลิกบุหรี่ได้ด้วยการให้คำแนะนำ การใช้ยาหรือสารทดแทนนิโคติน หรือแม้แต่การเข้ากลุ่มบำบัดช่วยเหลือ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยเลิกสูบบุหรี่ได้ง่ายขึ้น
หลีกเลี่ยงการรับควันบุหรี่ พยายามอยู่ให้ห่างจากกลุ่มหรือบุคคลรอบข้างที่มีการสูบบุหรี่ เพื่อลดโอกาสการสูดดมควันบุหรี่เข้าไปโดยตรง อาจแนะนำให้ผู้สูบบุหรี่สูบในเขตที่มีการอนุญาตให้สูบได้ ไม่เข้าไปอยู่ในร้านอาหารที่มีการสูบบุหรี่ หรือเลือกอยู่ในสถานที่ที่เป็นเขตปลอดบุหรี่แทน
เลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เลือกอาหารในการรับประทานที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เน้นผักและผลไม้ ซึ่งเป็นแหล่งที่อุดมด้วยแร่ธาตุและวิตามิน รวมไปถึงการเลือกรับประทานให้ครบ 5 หมู่ เพื่อให้ได้รับสารอาหารครบถ้วนในสัดส่วนที่เหมาะสมจากธรรมชาติโดยตรงแทนการได้รับวิตามินและแร่ธาตุจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ป้องกันตนเองจากมลภาวะหรือควันพิษ หากทราบว่าตนเองต้องอยู่ในสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีอันตรายหรือสารพิษที่อาจเป็นสารก่อมะเร็ง ควรมีการป้องกันการสูดดมสารเหล่านั้นเข้าไปโดยตรง อย่างเช่นการทำงานในสถานที่มีฝุ่นควันมาก ควรมีการสวมหน้ากากป้องกันไว้ตลอดเวลาขณะทำงาน
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายจะทำให้ร่างกายแข็งแรงและช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคให้ลดลงได้ ผู้ที่ไม่เคยออกกำลังกายอาจจะเริ่มจากการออกกำลังกายอย่างช้า ๆ พยายามออกกำลังอย่างสม่ำเสมอในแต่ละสัปดาห์

[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column][vc_column_text css=”.vc_custom_1531917415442{margin-bottom: 0px !important;}”][/vc_column_text][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column][vc_column_text css=”.vc_custom_1531917625391{margin-bottom: 0px !important;}”]มะเร็งปอด
มะเร็งปอด เป็นโรคที่พบได้มากในประเทศไทย และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของทั้งเพศชายและเพศหญิง อย่างไรก็ดี มะเร็งปอดสามารถรักษาให้หายได้หากตรวจพบตั้งแต่ในระยะต้น   

ชนิดของมะเร็งปอด
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปอด
การตรวจคัดกรองมะเร็งปอด
อาการของโรคมะเร็งปอด
ระยะของมะเร็งปอด
การรักษามะเร็งปอด

ชนิดของมะเร็งปอด
มะเร็งปอดเกิดจากการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติอย่างรวดเร็วและไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้เกิดเป็นกลุ่มก้อนของเซลล์ที่ผิดปกติ ซึ่งจะตรวจพบได้เมื่อมีขนาดใหญ่ มีจำนวนมาก และแพร่ไปตามบริเวณต่างๆ ของร่างกาย มะเร็งปอดจะทำลายชีวิตของผู้ป่วยได้รวดเร็วแค่ไหนขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง

มะเร็งปอดแบ่งออกเป็น 2 ชนิดตามขนาดของเซลล์ ซึ่งความแตกต่างของขนาดเซลล์นี้มีความสำคัญ เนื่องจากวิธีการรักษาจะแตกต่างกัน
มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (small cell lung cancer) พบได้ประมาณ 10-15% เซลล์จะเจริญเติบโตและแพร่กระจายได้รวดเร็วกว่ามะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว การรักษาจะไม่ใช้วิธีการผ่าตัด ส่วนมากจะรักษาด้วยการใช้ยาหรือฉายรังสี
มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก (non-small cell lung cancer) พบได้บ่อยกว่ามะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (พบได้ประมาณ 85-90%) แต่จะแพร่กระจายได้ช้ากว่า และสามารถรักษาให้หายได้โดยการผ่าตัดหากพบตั้งแต่เนิ่นๆ

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปอด
ในปัจจุบันยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่ชัดเจนที่ทำให้เกิดมะเร็งปอดได้ แต่มีปัจจัยบางประการที่อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปอด เช่น
บุหรี่ อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งปอดสูง ผู้ที่สูบบุหรี่มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งปอดมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 10-30 เท่า เนื่องจากสารในบุหรี่สามารถทำลายเซลล์ปอด ทำให้เกิดความผิดปกติของเซลล์ โดยความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นตามจำนวนมวนและจำนวนปีที่สูบบุหรี่
การได้รับสารพิษและมลภาวะในสิ่งแวดล้อม เช่น ควันบุหรี่ แอสเบสตอส (asbestos) ก๊าซเรดอน (radon) สารหนู รังสี และสารเคมีอื่นๆ รวมถึงฝุ่นและไอระเหยจากนิกเกิล โครเมียม และโลหะอื่นๆ
อายุ ความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปอดเพิ่มขึ้นตามอายุ โดยทั่วไปความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นหลังอายุ 40 ปี แต่ก็สามารถพบได้ในคนอายุน้อยกว่า 40 ปี
มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งปอด ผู้ที่มีพ่อแม่พี่น้องเป็นโรคมะเร็งปอด มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปอดแม้จะไม่ได้สูบบุหรี่

ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดควรพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการลดปัจจัยเสี่ยงและวางแผนการตรวจสุขภาพ ส่วนผู้ที่เคยได้รับการรักษามะเร็งปอดมาแล้ว ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพหลังการรักษา เนื่องจากอาจมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งปอดได้อีก

การตรวจคัดกรองมะเร็งปอด
การตรวจคัดกรองจะช่วยให้แพทย์สามารถตรวจพบและรักษามะเร็งได้ตั้งแต่เนิ่นๆ แต่ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการตรวจสอบมะเร็งปอดแบบง่ายหรือด้วยตนเองดังเช่นมะเร็งเต้านม อย่างไรก็ตามมีการตรวจสอบใหม่ที่เป็นการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบใช้ปริมาณรังสีต่ำ (low-dose helical computerized tomography) ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการตรวจคัดกรองและวินิจฉัยได้

อาการของโรคมะเร็งปอด
โดยทั่วไปแล้วมะเร็งปอดในระยะเริ่มต้นมักไม่แสดงอาการ แต่เมื่อโรคลุกลามแล้ว อาจพบอาการดังต่อไปนี้
ไอเรื้อรัง (ไอแห้งหรือไอมีเสมหะ)
มีปัญหาการหายใจ เช่น หายใจสั้น
หายใจมีเสียงหวีด
เจ็บบริเวณหน้าอกตลอดเวลา
ไอมีเลือดปน
เสียงแหบ
ติดเชื้อในปอดบ่อยๆ เช่น ปอดบวม
เหนื่อยง่าย หรือรู้สึกเหนื่อยตลอดเวลา
น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ

อาการเหล่านี้อาจไม่เกี่ยวเนื่องกับมะเร็ง เนื่องจากมีหลายโรคที่อาจทำให้เกิดอาการเหล่านี้ได้ อย่างไรก็ดี ผู้ที่มีอาการดังกล่าวข้างต้นควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาโดยเร็ว

การตรวจเบื้องต้นและการวินิจฉัยมะเร็งปอด
หากมีอาการที่เข้าข่ายของโรคมะเร็งปอด แพทย์จะทำการตรวจร่างกาย ตรวจเสมหะ เอกซเรย์ปอด หากพบความผิดปกติ อาจต้องทำการตรวจเพิ่มเติมเพื่อยืนยันการวินิจฉัย
การตัดชิ้นเนื้อเพื่อวิเคราะห์ (biopsy)
การใช้เข็มขนาดเล็กตัดชิ้นเนื้อ (fine-needle aspiration) แพทย์จะใช้เข็มขนาดเล็กเจาะที่ช่องอกไปยังปอด และดูดตัวอย่างของเหลวเนื้อเยื่อที่สงสัยเพื่อนำมาวิเคราะห์ โดยทั่วไปมักทำพร้อมกับการเอกซเรย์หรือ CT scan เพื่อหาตำแหน่งที่ถูกต้องของเนื้อเยื่อที่ต้องการตรวจสอบ
การส่องกล้องตรวจภายในหลอดลม (bronchoscopy) แพทย์จะทำการสอดท่อขนาดเล็กที่มีไฟผ่านทางจมูกหรือปากเข้าไปสู่ปอด โดยท่อนี้จะสามารถดูดของเหลวหรือตัดชิ้นเนื้อเยื่อที่สงสัยออกมาตรวจวิเคราะห์อย่างละเอียด
การใช้เข็มเจาะช่องเยื่อหุ้มปอดแทงผ่านผนังทรวงอก (thoracentesis) แพทย์จะใช้เข็มเจาะที่ช่องอกบริเวณระหว่างปอดและผนังของช่องอก เพื่อทำการเก็บของเหลวบริเวณดังกล่าวมาตรวจหาเซลล์มะเร็ง
การตรวจช่องกลางทรวงอกโดยการส่องกล้อง (mediastinoscopy) แพทย์จะทำการผ่าตัดบริเวณส่วนบนของกระดูกอก จากนั้นสอดกล้องเข้าไปภายในช่องทรวงอก และนำตัวอย่างเนื้อเยื่อหรือต่อมน้ำเหลืองออกมาตรวจ
การตรวจช่องทรวงอกโดยการส่องกล้อง (thorocoscopy) แพทย์จะใช้กล้องใส่เข้าทางผนังทรวงอกเพื่อตัดก้อนเนื้อจากปอดไปตรวจ
การตรวจวินิจฉัยด้วยรังสี
การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) และการตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เป็นวิธีที่ช่วยให้แพทย์หาตำแหน่งและขนาดของก้อนเนื้อที่ผิดปกติในบริเวณปอดได้
การตรวจด้วยเครื่อง PET scan (positron emission tomography scan) เป็นการฉีดโมเลกุลของสารกัมมันตภาพรังสีที่รวมกับน้ำตาลเข้าทางเส้นเลือด เซลล์มะเร็งปอดจะดูดซึมเอาน้ำตาลชนิดนี้ไว้อย่างรวดเร็วและมากกว่าเซลล์ปกติ ทำให้เกิดความแตกต่างของการเรืองแสงเฉพาะเซลล์มะเร็ง
ระยะของมะเร็งปอด
ระยะของมะเร็งกำหนดจากตำแหน่งของเซลล์มะเร็ง การแพร่กระจายของมะเร็ง และการทำงานที่ผิดปกติของอวัยวะร่างกาย ระยะของมะเร็งมีความสำคัญต่อการรักษา เพราะจะช่วยให้แพทย์หาวิธีการรักษาที่เหมาะสม ส่งผลต่อการหายของโรคหรือการมีชีวิตที่ยืนยาวหรือดำรงชีวิตได้ดีขึ้น
ระยะของมะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก แบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่   
ระยะจำกัดของขนาดมะเร็ง (limited stage) เป็นระยะที่มะเร็งจะอยู่ในบริเวณปอดเท่านั้น
ระยะการแพร่กระจาย (extensive stage) เป็นระยะที่มะเร็งได้แพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย
ระยะของมะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก แบ่งเป็น 4 ระยะ
ระยะที่ 1
พบมะเร็งเฉพาะที่บริเวณปอดเท่านั้น ไม่พบในต่อมน้ำเหลือง และยังไม่มีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง
ระยะที่ 2
ระยะที่ 2A มะเร็งมีขนาดเล็กและพบแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่ขั้วปอด
ระยะที่ 2B มะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้นเล็กน้อย และแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่ขั้ว ปอด หรือ เซลล์มะเร็งมีการแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่น เช่น ที่ผนังทรวงอก
ระยะที่ 3
ระยะที่ 3A เซลล์มะเร็งมีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองในบริเวณอื่นที่ห่างจากปอด หรือ พบมะเร็งในต่อมน้ำเหลืองรอบๆ ปอด และเซลล์มะเร็งได้แพร่กระจายไปยังผนังทรวงอกหรือบริเวณกลางช่องอก
ระยะที่ 3B เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองอีกด้านของช่องอกหรือต่อมน้ำเหลืองเหนือกระดูกไหปลาร้า หรือ มีเนื้องอกมากกว่า 1 ก้อนในปอด หรือ เนื้องอกเจริญเติบโตในอีกด้านของช่องอก เช่น หัวใจ หลอดอาหาร หรือ มีของเหลวที่มีเซลล์มะเร็งอยู่รอบๆ ปอด
ระยะที่ 4 มะเร็งได้กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย เช่น ตับ กระดูก สมอง

การรักษามะเร็งปอด
สิ่งสำคัญของการรักษามะเร็งปอด คือ การพิจารณาตำแหน่ง ขนาด และระยะของเซลล์มะเร็ง รวมถึงสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย
การผ่าตัด
มีเป้าหมายเพื่อผ่าเอาก้อนมะเร็งที่ปอดและต่อมน้ำเหลืองที่ช่องอกออกให้หมด ซึ่งบางครั้งก้อนเนื้อนั้นอาจไม่ใช่เซลล์มะเร็งทั้งหมดก็ได้
โดยทั่วไปไม่ใช้ในการรักษามะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็กซึ่งมักมีการแพร่กระจายตัวของเซลล์มะเร็งอย่างรวดเร็ว
วิธีนี้ใช้ในการรักษามะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก ในระยะที่ 1, 2 และ 3A
การฉายรังสี (radiotherapy)
เป็นการใช้พลังงานรังสีที่มีความเข้มข้นฉายไปยังตำแหน่งของเซลล์มะเร็งเพื่อทำลายกลุ่มก้อนเซลล์มะเร็งนั้น
วิธีนี้ใช้ไม่ได้ผลกับระยะมะเร็งที่มีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนต่างๆ แล้ว
การฉายรังสีใช้เวลาไม่นานและไม่ทำให้เจ็บปวด แต่อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น กลืนลำบาก อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ระคายเคืองผิวหนังบริเวณที่ฉายรังสี
การให้ยาเคมีบำบัด (chemotherapy) เป็นการใช้ยากำจัดและยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งที่มีอยู่ทั่วร่างกาย โดยทั่วไปยาเคมีบำบัดที่ใช้กับมะเร็งปอดเป็นรูปแบบยาฉีดเข้าเส้นเลือด
การรักษาแบบเฉพาะเจาะจง (targeted therapy)
เป็นการรักษาโดยการใช้ยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง โดยไม่ส่งผลต่อเซลล์ปกติ
ให้ประสิทธิผลในการรักษาและไม่ทำให้เกิดอาการข้างเคียงเหมือนเช่นยาเคมีบำบัด
การรักษาด้วยการผสมผสาน โดยทั่วไปการรักษามะเร็งจะใช้มากกว่าหนึ่งวิธีขึ้นไป ผู้ป่วยควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษาและผลข้างเคียงของแต่ละวิธี เพื่อให้ความร่วมมือในการรักษาให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด

การดูแลตนเองภายหลังการรักษา
หากยังสูบบุหรี่อยู่ ควรหยุดทันที
เมื่อผู้ป่วยเริ่มมีอาการดีขึ้น ควรออกกำลังกายด้วยการเดินอย่างน้อยวันละ 15-30 นาที เพื่อส่งเสริมการทำงานของปอดและหัวใจให้ดีขึ้น
พบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำและป้องกันการเกิดมะเร็งที่อวัยวะอื่น[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column width=”1/2″][vc_column_text css=”.vc_custom_1531917671113{margin-bottom: 0px !important;}”][/vc_column_text][vc_column_text css=”.vc_custom_1531917802576{margin-bottom: 0px !important;}”][/vc_column_text][/vc_column][vc_column width=”1/2″][vc_column_text css=”.vc_custom_1531917732443{margin-bottom: 0px !important;}”]วิธีรักษาโรคมะเร็งปอด
– รักษาโดยการผ่าตัด แพทย์มักทำการผ่าตัดในกรณีที่สามารถตัดเนื้องอกออกได้หมด และปอดที่เหลือยังคงทำงานได้อย่างปกติเท่านั้น
– รักษาโดยการฉายแสง ทำในกรณีที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ หรือไม่สามารถผ่าเนื้องอกออกได้หมด มักใช้การฉายแสงร่วมกับเคมีบำบัด
– รักษาโดยให้เคมีบำบัด นับเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยมะเร็งปอดต้องผ่านกระบวนการนี้เรียกได้ว่าแทบทุกคนเลยก็ว่าได้ ซึ่งขนาดและปริมาณแพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยเอง แต่โดยมากแพทย์มักแนะนำให้ทำเคมีบำบัดร่วมด้วยเพื่อความชัวร์นั่นเอง

มะเร็งปอด
Fine-Needle Aspiration Biopsy of the Lung เป็นวิธีการรักษามะเร็งปอดในระยะเริ่มต้นในขณะที่ขนาดก้อนมะเร็งยังมีขนาดเล็ก

วิธีการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด
– ควรให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะโปรตีน ได้แก่ ปลา, ถั่ว, นม หรือไข่ เป็นต้น
– หลีกเลี่ยงอาหารประเภทปิ้ง ย่าง ทอด ดอง หรือบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เพราะมีสารก่อมะเร็งอยู่
– ระมัดระวังไม่ให้ผู้ป่วยสูบบุหรี่หรือรับควันบุหรี่เพิ่ม
– ที่สำคัญควรให้กำลังใจแก่ผู้ป่วยมากๆ โดยเฉพาะคนในครอบครัว

ดังนั้นเราจึงควรหมั่นไปตรวจเช็กสุขภาพร่างกายกันเป็นประจำ เพื่อหากเป็นโรคมะเร็งปอดจะได้พบโรคแต่เนิ่นๆ และสามารถทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที โดยเราควรหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง รับประทานแต่สิ่งที่ดีมีประโยชน์ต่อร่างกาย ที่สำคัญควรลดการสูบบุหรี่ลง หรือถ้าไม่สูบได้ก็จะดีที่สุด พร้อมทั้งหลีกเลี่ยงในที่ที่มีควันบุหรี่หรืออากาศไม่บริสุทธิ์[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row]

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *


The reCAPTCHA verification period has expired. Please reload the page.

Scroll to Top