เซซามิน ต้าน มะเร็งเม็ดเลือดขาว

[vc_row][vc_column][vc_column_text css=”.vc_custom_1532422454648{margin-bottom: 0px !important;}”][/vc_column_text][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column][vc_column_text css=”.vc_custom_1532422437488{margin-bottom: 0px !important;}”]มะเร็งเม็ดเลือดขาว
โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือลูคีเมีย (Leukemia) เป็นโรคมะเร็งที่เกิดขึ้นในไขกระดูก เกิดจากมีเซลล์เม็ดเลือดขาวตัวอ่อนเติบโตมากผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ การแบ่งตัวอย่างไม่หยุดของเซลล์เหล่านี้ ได้ไปรบกวนการสร้างเม็ดเลือดปกติชนิดอื่นของไขกระดูก ทำให้เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวปกติ และเกล็ดเลือดลดลง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาวะโลหิตจาง มีเลือดออกผิดปกติ มีจ้ำเลือดตามร่างกาย ติดเชื้อง่าย นอกจากนี้เซลล์มะเร็งยังสามารถไปสะสมตามอวัยวะอื่นๆ เช่น ตับ ม้าม ต่อมน้ำเหลือง ทำให้ผู้ป่วยมีต่อมน้ำเหลือง ตับ ม้ามโต

มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันจัดเป็นโรคมะเร็งที่มีความรุนแรงสูง พบได้ทุกเพศทุกวัย พบมากขึ้นในผู้สูงอายุ และเป็น 1 ใน 10 โรคมะเร็งที่พบบ่อยในประเทศไทย

ชนิดของมะเร็งเม็ดเลือดขาว
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาว
อาการของมะเร็งเม็ดเลือดขาว
การวินิจฉัยมะเร็งเม็ดเลือดขาว
การรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาว
การติดตามผลการรักษาและการดูแลตัวเอง
การดูแลตนเองของผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาว

ชนิดของมะเร็งเม็ดเลือดขาว
มะเร็งเม็ดเลือดขาวสามารถแบ่งได้หลายแบบ ได้แก่ แบ่งตามระยะการเกิดโรค และแบ่งตามชนิดของเซลล์มะเร็ง

แบ่งตามระยะเวลาเกิด

มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน (acute leukemia) คือการที่เซลล์ตัวอ่อนของเม็ดเลือดขาวแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว อาการของโรคจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลันและรุนแรง ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง (chronic leukemia) คือการที่เซลล์เม็ดเลือดขาวถูกผลิตออกมามากเกินไป ทำให้ผู้ป่วยมีเม็ดเลือดขาวมากกว่าปกติ เนื่องจากความผิดปกติเกิดขึ้นอย่างช้าๆ ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการผิดปกติใดๆ เลยเป็นเวลานับปี แต่สามารถตรวจพบได้จากการตรวจเลือด
แบ่งตามชนิดของเซลล์มะเร็ง

มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดมัยอีโลจีนัส (myelogenous leukemia) เป็นชนิดของมะเร็งที่เกิดจากเซลล์ในสาย myeloid เติบโตผิดปกติ
มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟซิติก (lymphocytic leukemia) เป็นชนิดของมะเร็งที่เกิดจากเซลล์ในสาย lymphoid
ทั้งนี้ การแบ่งชนิดของมะเร็งเม็ดเลือดขาวจะมีผลต่อการเลือกวิธีการรักษา เนื่องจากมะเร็งเม็ดเลือดขาวแต่ละชนิดมีการดำเนินโรคและการพยากรณ์โรคที่แตกต่างกัน

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาว
ปัจจุบันยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรค แต่ปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ก็ส่งผลต่อการเกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้

การได้รับรังสีขนาดสูง เช่น รังสีนิวเคลียร์
การรับเคมีบำบัด เกิดจากการรักษาโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ ด้วยตัวยาเคมี เนื่องจากยาเคมีบำบัดบางกลุ่มอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้

การสัมผัสกับสารเคมีในสิ่งแวดล้อม เช่น สารเคมีในกลุ่มพวกเบนซีน และยาฆ่าแมลงบางชนิด

โรคทางพันธุกรรม เช่น โรคดาวน์ซินโดรม

อายุ ยิ่งอายุมากขึ้น โอกาสเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาวก็ยิ่งสูงขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
ผู้ป่วยโรคไขกระดูกเสื่อม (Myelodysplastic syndrome, MDS)

อาการของมะเร็งเม็ดเลือดขาว
เนื่องจากเซลล์เม็ดเลือดที่ผิดปกติไปรบกวนการสร้างเม็ดเลือดชนิดต่างๆ ทำให้เกิดอาการดังนี้

เม็ดเลือดแดงลดลง ผู้ป่วยอาจมีอาการจากภาวะโลหิตจาง เช่น เหนื่อยง่าย ใจสั่น วิงเวียนศีรษะ
เม็ดเลือดขาวลดลง ทำให้ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
เกล็ดเลือดลดลง ทำให้มีภาวะเลือดออกง่ายกว่าปกติ อาจพบจุดเลือดออกหรือจ้ำเลือดตามตัว รวมถึงภาวะเลือดหยุดยาก
นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจมีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด คลำพบก้อนตามตัวหรือปวดกระดูกได้

การวินิจฉัยมะเร็งเม็ดเลือดขาว
การเจาะเลือดตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (complete blood count, CBC) อาจพบฮีโมโกลบินต่ำ เกล็ดเลือดต่ำ จำนวนเม็ดเลือดขาวสูงหรือต่ำกว่าปกติก็ได้ และอาจพบเม็ดเลือดขาวตัวอ่อนได้ แพทย์จะตรวจยืนยันการวินิจฉัย โดยการตรวจไขกระดูก เพื่อนับจำนวนเซลล์ตัวอ่อน ส่งตรวจพิเศษเพื่อแยกชนิดของเซลล์ myeloid และ lymphoid รวมถึงส่งตรวจโครโมโซมเพื่อการพยากรณ์โรค

การเจาะไขกระดูกเป็นการตรวจที่จำเป็นในการวินิจฉัยมะเร็งเม็ดเลือดขาว โดยแพทย์จะใช้เข็มดูดและตัดชิ้นเนื้อบริเวณหลังกระดูกสะโพกหรือหลังกระดูกเชิงกราน (ไม่ใช่การเจาะน้ำไขสันหลัง) ระยะเวลาในการเจาะประมาณ 10-15 นาที และไม่ต้องนอนโรงพยาบาล

การรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาว
ทีมแพทย์จะประเมินชนิดของโรค อายุและสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย ก่อนแนะนำวิธีรักษาที่เหมาะสม ซึ่งได้แก่

เคมีบำบัด (Chemotherapy) เป็นการรักษาหลักสำหรับมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน โดยยาจะไปทำลายเซลล์มะเร็งที่แบ่งตัวอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ไขกระดูกสามารถสร้างเม็ดเลือดปกติขึ้นมาใหม่ เคมีบำบัดมีทั้งชนิดกิน ฉีดเข้าหลอดเลือดดำและฉีดเข้าน้ำไขสันหลัง ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันมักต้องใช้เคมีบำบัดร่วมกันหลายชนิด โดยแพทย์จะพิจารณาตามชนิดและความรุนแรงของโรค รวมถึงความแข็งแรงของผู้ป่วยด้วย เพราะเคมีบำบัดจะมีผลข้างเคียงต่อเซลล์อื่นๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะเซลล์ที่แบ่งตัวอย่างรวดเร็ว เช่น เยื่อบุทางเดินอาหาร เซลล์ในไขกระดูก ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บปาก ถ่ายเหลว โลหิตจาง เม็ดเลือดขาวต่ำหรือเกล็ดเลือดต่ำ ดังนั้นในระหว่างการรักษา ผู้ป่วยอาจต้องได้เลือดและเกล็ดเลือด รวมถึงยารักษาตามอาการเพื่อลดผลข้างเคียง เช่น ยาแก้อาเจียน ยากระตุ้นเม็ดเลือดขาว เป็นต้น
การรักษาแบบจำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง (Targeted therapy) เป็นยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง โดยไม่ทำลายเซลล์ปกติ เช่น ยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซีนไคเนส (Tyrosine kinase inhibitor) ที่ใช้รักษาผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดมัยอีลอยด์ (Chronic myeloid leukemia)
การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด (Stem cell transplantation) แพทย์จะนำเซลล์ต้นกำเนิดจากเลือดหรือไขกระดูกของตัวผู้ป่วยเอง (Autologous transplantation) ญาติพี่น้องหรือผู้บริจาค (Allogeneic transplantation) ที่เข้ากันได้ มาปลูกถ่ายให้ผู้ป่วยหลังจากได้รักษาจนโรคอยู่ในระยะสงบเพื่อลดโอกาสกลับเป็นซ้ำ

การติดตามผลการรักษาและการดูแลตัวเอง  
หลังรักษาจนโรคอยู่ในระยะสงบแล้ว แพทย์จะนัดตรวจอาการและเจาะเลือดทุก 1-2 เดือนในช่วงปีแรก ถ้าผลตรวจปกติ จะนัดติดตามทุก 3-6 เดือนอย่างน้อย 5 ปี จึงจะถือว่าหายขาดจากโรค เพราะโอกาสกลับเป็นซ้ำจะลดลงเมื่อเวลานานขึ้น

การดูแลตนเองของผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาว
ดูแลสุขอนามัย และความสะอาด โดยเฉพาะในช่องปากและฟัน เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
ไม่ควรอยู่ในที่แออัด หรือการระบายอากาศไม่ดี เพื่อลดโอกาสติดเชื้อทางเดินหายใจ
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และปรุงสุกด้วยความร้อน ล้างผักให้สะอาด ปอกเปลือกผลไม้ เพื่อลดโอกาสติดเชื้อทางเดินอาหาร
ดื่มน้ำสะอาดมากๆ พักผ่อนให้เพียงพอ อย่าเครียด[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column][vc_column_text css=”.vc_custom_1532422631575{margin-bottom: 0px !important;}”]มะเร็งเม็ดเลือดขาว
ความหมาย มะเร็งเม็ดเลือดขาว

มะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือโรคลูคีเมีย (Leukemia) เป็นมะเร็งเม็ดเลือดชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยโรคนี้จะมีจำนวนเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้นผิดปกติจนทำลายระบบการสร้างเม็ดเลือดปกติของไขกระดูก ทำให้เม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือดมีจำนวนลดน้อยลง และระบบเลือดทำงานผิดไปจากเดิม ซึ่งการรักษาจะขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ เช่น อายุและสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย การแพร่กระจายของมะเร็ง เป็นต้น

มะเร็งเม็ดเลือดขาว

เม็ดเลือดขาวมีหน้าที่สำคัญในระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยต่อสู้และป้องกันการติดเชื้อโรคต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา รวมทั้งป้องกันการเกิดเซลล์ที่ผิดปกติและสารแปลกปลอมอื่น ๆ ส่วนใหญ่เม็ดเลือดขาวจะถูกผลิตขึ้นในไขกระดูก บางชนิดผลิตในต่อมน้ำเหลือง ต่อมไทมัส และม้ามได้เช่นกัน เมื่อเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาวขึ้น เซลล์มะเร็งจึงแพร่ไปทั่วร่างกายผ่านระบบเลือดและระบบน้ำเหลือง

มะเร็งเม็ดเลือดขาวอาจเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันหรือเรื้อรังก็ได้ ในชนิดเฉียบพลัน เซลล์มะเร็งจะเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วและมีอาการแสดงให้เห็นค่อนข้างชัดเจน ส่วนมะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเรื้อรังนั้น ในช่วงแรกมักมีอาการน้อยมากและดำเนินไปอย่างช้า ๆ นอกจากนี้ มะเร็งเม็ดเลือดขาวยังแบ่งได้ตามชนิดเซลล์ที่ผิดปกติ โดยที่พบได้บ่อยมี 4 ชนิดหลัก ดังนี้

มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์ (Acute Myelogenous Leukemia: AML) เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดที่พบบ่อย โดยเฉพาะในผู้ใหญ่
มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดลิมโฟไซติก (Acute Lymphocytic Leukemia: ALL) พบได้มากในเด็กเล็ก แต่พบในผู้ใหญ่ได้เช่นกัน โดยเซลล์มะเร็งจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในเลือด และมีโอกาสหายขาดได้สูง หากได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม
มะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดไมอิลอยด์ (Chronic Myelogenous Leukemia: CML) มักเกิดขึ้นในผู้ใหญ่ โดยอาจมีอาการเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลยเป็นเวลาหลายเดือนหรือหลายปี
มะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดลิมโฟไซติก (Chronic Lymphocytic Leukemia: CLL) ส่วนใหญ่พบในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยอาจไม่แสดงอาการ แต่มาพบว่าเป็นมะเร็งชนิดนี้โดยบังเอิญจากการตรวจเลือด
อาการของมะเร็งเม็ดเลือดขาว

ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวแต่ละรายมีอาการแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดที่เป็น อย่างไรก็ตาม อาการโดยทั่วไปที่อาจสังเกตได้ มีดังนี้

รู้สึกอ่อนเพลียหรือเหนื่อยล้าอย่างต่อเนื่อง
มีไข้ หนาวสั่น
เหงื่อออกมาก โดยเฉพาะในตอนกลางคืน
น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
ปวดหรือมีอาการกดเจ็บบริเวณกระดูก
ต่อมน้ำเหลืองบวมโต โดยเฉพาะบริเวณคอและรักแร้ ซึ่งมักไม่มีอาการเจ็บร่วม
ตับหรือม้ามโต
มีเลือดออกหรือเกิดรอยฟกช้ำง่าย มีจ้ำเลือดตามผิวหนัง
เกิดภาวะติดเชื้อบ่อย
นอกจากนี้ มะเร็งเม็ดเลือดขาวอาจส่งผลให้อวัยวะที่ได้รับผลกระทบหรือมีเซลล์มะเร็งแพร่ผ่านทำงานผิดปกติ เช่น สมอง หัวใจ ปอด ระบบทางเดินอาหาร ไต อัณฑะ เป็นต้น และหากเซลล์มะเร็งแพร่ไปยังระบบประสาท ผู้ป่วยอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ สับสน สูญเสียการควบคุมกล้ามเนื้อ และชัก

สาเหตุของมะเร็งเม็ดเลือดขาว

ปัจจุบัน ทางการแพทย์ยังไม่อาจระบุสาเหตุของการเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้แน่ชัด แต่คาดว่าเกิดการกลายพันธุ์ในดีเอ็นเอของเซลล์เลือด ส่งผลให้เซลล์ดังกล่าวเจริญเติบโตผิดปกติและเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วในไขกระดูก ทำให้ผู้ป่วยมีเซลล์เม็ดเลือดขาวปกติน้อยลงและสูญเสียการทำงานของระบบเลือด นำไปสู่อาการของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวในที่สุด

นอกจากนี้ ปัจจัยบางประการอาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้ ดังนี้

มีบุคคลในครอบครัวเคยป่วยเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
เป็นโรคทางพันธุกรรม เช่น ดาวน์ซินโดรม เป็นต้น
มีความผิดปกติเกี่ยวกับเลือดอย่างโรคไมอีโลดิสพลาสติกซินโดรม หรือโรคเอ็มดีเอส (Myelodysplastic Syndrome: MDS) ซึ่งส่งผลต่อการผลิตเซลล์เม็ดเลือดในไขกระดูก
เคยเข้ารับการรักษามะเร็งด้วยการทำเคมีบำบัดหรือการทำรังสีบำบัด
การสัมผัสสารเคมีบางชนิด เช่น เบนซีน
การเผชิญรังสีบางชนิดในปริมาณมาก
มีพฤติกรรมสูบบุหรี่
การวินิจฉัยมะเร็งเม็ดเลือดขาว

ในเบื้องต้น แพทย์จะสอบถามอาการ ซักประวัติทางการแพทย์ และตรวจร่างกายเบื้องต้น เช่น ตรวจดูการบวมโตของต่อมน้ำเหลือง ม้าม หรือตับ ตรวจภาวะผิวซีดด้วยการตรวจผิวหนังและดวงตา เป็นต้น เพื่อประเมินว่าผู้ป่วยมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือไม่ และอาจใช้การตรวจเพิ่มเติมเพื่อยืนยันผลการวินิจฉัย ดังนี้

การตรวจเลือด เป็นการเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อนำไปตรวจดูว่ามีระดับเม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดง และเกล็ดเลือดผิดปกติหรือไม่
การตรวจไขกระดูก แพทย์จะฉีดยาชาเฉพาะที่และเก็บตัวอย่างไขกระดูกบริเวณสะโพกโดยใช้เข็มขนาดยาว จากนั้นจึงนำตัวอย่างไขกระดูกส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อหาเซลล์มะเร็งเม็ดเลือด และมีการตรวจเพิ่มเติมในกรณีที่พบเซลล์มะเร็ง ซึ่งจะช่วยระบุได้ว่าเป็นเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดใด มีการแพร่กระจายในขั้นไหน และนำผลดังกล่าวมาประกอบการตัดสินใจเลือกวิธีรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยต่อไป
การตรวจภาพถ่ายรังสี เช่น การเอกซเรย์ การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) และการถ่ายภาพด้วยคลื่นสนามแม่เหล็กแรงสูง (MRI Scan) เพื่อดูความผิดปกติของต่อมน้ำเหลืองและอวัยวะภายในที่ได้รับผลกระทบจากโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว รวมถึงใช้ในการประเมินระยะความรุนแรงของโรคเพื่อให้การรักษาอย่างเหมาะสม
การเจาะและเก็บตัวอย่างน้ำไขสันหลัง ซึ่งอาจทำให้พบเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวที่แพร่เข้าไปในเยื่อหุ้มหรือพื้นที่รอบ ๆ สมองและไขสันหลัง
การรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาว

แพทย์จะพิจารณาวิธีรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวโดยประเมินจากอายุและสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย ชนิดของมะเร็งเม็ดเลือดขาว และการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง โดยการรักษาที่มักนำมาใช้ มีดังนี้

เคมีบำบัด เป็นการใช้ยาฆ่าเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว ซึ่งแพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาในรูปแบบรับประทาน ยาฉีด หรือใช้ทั้ง 2 ชนิดควบคู่กันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็งเม็ดเลือดขาว ทั้งนี้ การใช้ยาเคมีบำบัดอาจมีผลข้างเคียงบางอย่างต่อร่างกาย เช่น ผมร่วง คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ฟกช้ำหรือมีเลือดออกง่าย รังไข่หรืออัณฑะเสียหายจนเกิดภาวะมีบุตรยากตามมา เป็นต้น
ภูมิคุ้มกันบำบัด เป็นการรักษาโดยการฉีดสารบางอย่างเข้าไปในร่างกาย เพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันรับรู้ว่าเซลล์มะเร็งที่เกิดขึ้นเป็นเซลล์ผิดปกติและเข้าทำลายเซลล์ดังกล่าวเอง แต่วิธีนี้อาจส่งผลให้เกิดผื่นหรือบวมบริเวณที่ฉีดสารดังกล่าว และอาจมีอาการปวดศีรษะ มีไข้ ปวดกล้ามเนื้อ หรืออ่อนเพลีย
การรักษาแบบจำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง แพทย์จะใช้ยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งช่วยป้องกันการลุกลามของเซลล์มะเร็งและเป็นอันตรายต่อเซลล์ปกติได้น้อย เช่น ยาอิมมาตินิบที่มักใช้รักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดไมอิลอยด์ ตัวยาจะเข้าไปหยุดการทำงานของโปรตีนในเซลล์มะเร็งเม็ดเลือด แต่การรักษาวิธีนี้อาจมีผลข้างเคียงเป็นอาการบวม ท้องอืด น้ำหนักขึ้นอย่างรวดเร็ว บางรายอาจมีผื่นขึ้น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดบีบที่ท้องร่วมด้วย
รังสีบำบัด การใช้รังสีเอกซเรย์หรือลำแสงพลังงานสูงชนิดอื่น ๆ ยิงเข้าไปทำลายและหยุดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว ผู้ป่วยอาจได้รับการบำบัดด้วยรังสีนี้เฉพาะบริเวณที่มีกลุ่มเซลล์มะเร็งหรือทั่วร่างกาย และในบางกรณีแพทย์อาจใช้วิธีนี้ก่อนให้การรักษาด้วยการปลูกถ่ายเซลล์
การปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ เป็นกระบวนการปลูกถ่ายไขกระดูกที่มีสุขภาพดีแทนไขกระดูกที่มีเซลล์มะเร็ง โดยแพทย์จะใช้การทำเคมีบำบัดหรือรังสีบำบัดทำลายไขกระดูกที่มีเซลล์มะเร็งเป็นอันดับแรก จากนั้นจึงให้สเต็มเซลล์เลือดที่จะช่วยสร้างไขกระดูกใหม่ขึ้นมาใหม่
ทั้งนี้ ผู้ป่วยบางรายอาจเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาวซ้ำอีกครั้ง แม้จะได้รับการรักษาจนหายดีแล้วก็ตาม ซึ่งโอกาสเสี่ยงนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็งและการตอบสนองของผู้ป่วยต่อการรักษาเบื้องต้น โดยเฉพาะมะเร็งชนิดเรื้อรังที่มีโอกาสเกิดขึ้นซ้ำหรือกลับมามีอาการสูงกว่ามะเร็งชนิดเฉียบพลัน

ภาวะแทรกซ้อนของมะเร็งเม็ดเลือดขาว

มะเร็งเม็ดเลือดขาวส่งผลให้ผู้ป่วยมีปริมาณเม็ดเลือดแดงลดน้อยลงจนเกิดภาวะโลหิตจาง มีเลือดออกผิดปกติ เกิดการติดเชื้อบ่อยจากการทำงานที่ผิดปกติของเม็ดเลือดขาว และอาจได้รับผลข้างเคียงจากการรักษา เช่น ภาวะสเต็มเซลล์ใหม่ต้านร่างกายผู้ป่วย อีกทั้งบางรายอาจมีกลับมาเป็นซ้ำหรือมีอาการทรุดลง แม้จะได้รับการรักษาแล้ว

นอกจากนี้ มะเร็งเม็ดเลือดขาวแต่ละชนิดอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนแตกต่างกันไป โดยพบว่ามีผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดลิมโฟไซติกบางส่วนที่เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดไปเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดรุนแรง บางรายเกิดโรคออโตอิมมูนในระบบเลือดซึ่งส่งผลให้ร่างกายทำลายเซลล์เม็ดเลือดเร็วกว่าที่ผลิต รวมถึงเสี่ยงเกิดโรคมะเร็งซ้ำซ้อนและโรคความผิดปกติเกี่ยวกับเลือดอื่น ๆ ตามมามากกว่ามะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดอื่น

ส่วนผู้ป่วยที่มีมะเร็งชนิดรุนแรงอาจได้รับผลข้างเคียงจากการรักษาและเกิดกลุ่มอาการมะเร็งถูกทำลาย (Tumor Lysis Syndrome) อย่างเฉียบพลัน ซึ่งเป็นภาวะที่เซลล์มะเร็งตายลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ร่างกายปล่อยฟอสเฟตออกมาเป็นปริมาณมากและอาจนำไปสู่ภาวะไตวาย โดยกลุ่มอาการนี้เกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวทุกชนิด

สำหรับโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดลิมโฟไซติกที่พบบ่อยในเด็ก การรักษาโรคนี้้อาจทำให้เด็กได้รับผลข้างเคียงรุนแรง เช่น ระบบประสาทส่วนกลางบกพร่อง เจริญเติบโตช้า เกิดภาวะมีบุตรยาก ต้อกระจก และเสี่ยงเกิดมะเร็งชนิดอื่นตามมา ซึ่งความเสี่ยงเหล่านี้ขึ้นอยู่กับอายุของเด็กขณะเข้ารับการรักษา ประเภทและความรุนแรงของการรักษาที่ใช้

การป้องกันมะเร็งเม็ดเลือดขาว

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวไม่มีแนวทางป้องกันที่ได้ผล 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด อีกทั้งปัจจัยส่วนหนึ่งอาจเป็นผลมาจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม อย่างไรก็ตาม การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงบางอย่างอาจช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคนี้ได้ เช่น เลี่ยงการสัมผัสรังสีหรือสารเบนซีน เลิกสูบบุหรี่ เป็นต้น

[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row]

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *


The reCAPTCHA verification period has expired. Please reload the page.

Scroll to Top