โรคมะเร็งตับ Liver cancer เซซามินช่วยในการฟื้นฟูของตับ

[vc_row][vc_column][vc_column_text css=”.vc_custom_1533812567336{margin-bottom: 0px !important;}”]โรคมะเร็งตับ
มะเร็งตับ (Liver cancer) เป็นโรคมะเร็งที่พบได้มากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของโรคมะเร็งที่เกิดในผู้ชายไทย และพบมากเป็นอันดับ 4 ของผู้ป่วยมะเร็งรวมทั้ง 2 เพศ มักพบในคนอายุ 30-70 ปี และพบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 2-3 เท่า โรคนี้จัดเป็นโรครุนแรงมาก ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้มากที่สุดโรคหนึ่ง เพราะโรคมะเร็งตับในระยะแรกมักไม่ค่อยแสดงอาการ ซึ่งผู้ป่วยกว่าจะได้รับการวินิจฉัยครั้งแรกก็มักจะอยู่ในระยะท้ายของโรคซึ่งไม่มีทางรักษาให้หายได้แล้ว

ชนิดของโรคมะเร็งตับ
มะเร็งตับมีทั้งชนิดที่เกิดจากเนื้อเยื่อของตับเอง เรียกว่า “มะเร็งตับชนิดปฐมภูมิ” และชนิดที่เกิดจากการแพร่กระจายมาจากโรคมะเร็งชนิดอื่น เช่น โรคมะเร็งปอด โรคมะเร็งเต้านม ฯลฯ ซึ่งเรียกว่า “มะเร็งตับชนิดทุติยภูมิ” แต่ในบทความนี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะโรคมะเร็งชนิดที่เกิดจากเนื้อเยื่อของตับเองเท่านั้น ซึ่งก็มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด แต่ที่พบได้บ่อย ๆ จะมีอยู่ 2 ชนิด คือ

มะเร็งเซลล์ตับ (Hepatocellular carcinoma – HCC) หมายถึง มะเร็งที่เกิดจากเซลล์ที่อยู่ในเนื้อเยื่อตับ ซึ่งเป็นชนิดที่พบได้เป็นส่วนใหญ่ประมาณ 75-80% ของผู้ป่วยโรคมะเร็งตับ สามารถพบได้ในทั่วทุกภาคของประเทศ มักพบในผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือซี (ทั้งที่เป็นพาหะและเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง), ผู้ป่วยตับแข็ง, ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์จัด และผู้ที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งเซลล์ตับ
ไวรัสตับอักเสบบีหรือซี สามารถติดต่อได้ทางเลือด ทางเพศสัมพันธ์ และการติดจากแม่ไปยังทารกในครรภ์ เมื่อเชื้อเข้าไปในเลือดแล้ว เชื้อไวรัสจะเข้าไปรวมตัวกันที่ตับทำให้ตับอักเสบ ส่วนจะมีอาการของโรคตับอักเสบหรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับภูมิต้านทานของแต่ละคน คือ บางคนแทบไม่มีอาการเลย พอเป็นแล้วก็หายได้เอง และมีภูมิต้านทานในตัว แต่บางคนพอเป็นแล้วเชื้อก็ไม่หายไปจากตัวและกลายเป็นตับอักเสบเรื้อรังหรือเป็นพาหะติดต่อผู้อื่นได้ พอตับอักเสบนาน ๆ เข้า เป็นระยะเวลา 10-20 ปี ก็จะทำให้เซลล์ตับเป็นพังผืด เหี่ยวลง จนอาจกลายเป็นโรคตับแข็ง ซึ่งบางเซลล์ในล้าน ๆ เซลล์อาจพัฒนาเป็นมะเร็งตับได้ แต่ก็มีบางรายที่เหมือนกับประเภทที่ตับอักเสบเรื้อรัง แต่ไม่มีตับแข็ง แล้วกลายเป็นมะเร็งตับได้เช่นกัน (ผู้ป่วยมะเร็งตับมักมีประวัติติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบีหรือซีมาตั้งแต่เล็ก โดยมักติดมาจากแม่ในขณะตั้งครรภ์ และเมื่อย่างเข้าสู่วัยกลางคนอายุประมาณ 50-60 ปี ก็จะกลายเป็นมะเร็งตับ) ดังนั้น ในระหว่างที่มีการตรวจรักษาไวรัสตับอักเสบหรือโรคตับแข็ง แพทย์ก็มักจะตรวจเช็กเรื่องของมะเร็งตับไปด้วย
มะเร็งท่อน้ำดีในตับ (Cholangiocarcinoma – CCA) หมายถึง มะเร็งที่เกิดจากเซลล์ที่บุภายในท่อน้ำดีส่วนที่อยู่ภายในตับ (Biliary tree) ซึ่งพบร่วมกับโรคพยาธิใบไม้ตับ เป็นชนิดที่พบได้มากรองลงมา คือ ประมาณ 13% ของมะเร็งตับ ในประเทศไทยพบโรคมะเร็งท่อน้ำดีได้มากทางภาคอีสาน โดยจะพบในผู้ชายบ่อยกว่าผู้หญิงเล็กน้อย และมักพบในผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 50-60 ปี คนทางภาคอีสานจะคุ้นเคยกับโรคนี้อันเป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคพยาธิใบไม้ตับเป็นอย่างดี และเนื่องจากผู้ป่วยจะมีอาการตับโตเป็นสำคัญ จึงนิยมเรียกโรคนี้ในอีกชื่อหนึ่งว่า “โรคตับโต”
โรคพยาธิใบไม้ตับ (Opisthorchiasis) จะพบได้มากทางภาคเหนือและภาคอีสาน ซึ่งประชาชนบางส่วนนิยมรับประทานปลาดิบ ๆ และปลาร้า
อื่น ๆ (พบได้น้อย) ได้แก่ มะเร็งตับชนิดเฮปาโตบลาสโตมา (Hepatoblastoma) ที่พบได้ในเด็ก, มะเร็งของหลอดเลือด (Angiosarcoma) พบได้มากในผู้ที่สัมผัสสารไวนิลคลอไรด์ (Vinyl chloride) ซึ่งเป็นสารที่ใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติก เป็นต้น
อาการของมะเร็งตับ
IMAGE SOURCE : Bigstock
สาเหตุมะเร็งตับ
IMAGE SOURCE : www.hepatitisc.uw.edu
สาเหตุของโรคมะเร็งตับ
มะเร็งเซลล์ตับ (HCC) พบว่าส่วนใหญ่มีสาเหตุสัมพันธ์กับผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบีและซี (ชนิดบีพบได้บ่อยกว่า) ผู้ป่วยตับแข็ง และผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์จัด นอกจากนี้ยังพบว่า สารอะฟลาทอกซิน (Aflatoxin) ซึ่งเป็นสารพิษที่มักพบปนเปื้อนอยู่ในถั่วลิสง (โดยเฉพาะถั่วลิสงบด) พริกแห้ง กระเทียม หัวหอม เต้าเจี้ยว ข้าวโพด ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ แหนม องุ่นแห้ง ปลาตากแห้ง มันสำปะหลัง ธัญพืชเปียกชื้นอื่น ๆ เป็นต้น ก็เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคมะเร็งชนิดนี้ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นตัวเสริมให้เกิดมะเร็งเซลล์ตับในผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
มะเร็งท่อน้ำดีในตับ (CCA) พบว่า ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับแบบเรื้อรัง โดยเกิดจากพยาธิใบไม้ตับ (Opisthorchis viverrini) ซึ่งเป็นพยาธิที่มีอยู่ในปลาน้ำจืดตามหนองบึง เมื่อคนกินปลาแบบดิบ ๆ หรือปลาดิบ ๆ สุก ๆ ที่มีพยาธิชนิดนี้เข้าไป ตัวอ่อนของพยาธิก็จะเข้าไปเจริญเติบโตและอาศัยอยู่ที่ท่อน้ำดีในตับอย่างถาวร (สามารถอยู่ได้นานถึง 25 ปี) หากปล่อยไว้ไม่รักษาก็จะทำให้เกิดการอักเสบและความผิดปกติของตับ พอนาน ๆ เข้าเซลล์ท่อน้ำดีก็จะกลายพันธุ์เป็นมะเร็งท่อน้ำดีในที่สุด นอกจากนี้ยังพบว่า การได้รับสารไนโตรซามีน (Nitrosamine) ซึ่งเป็นสารพิษที่พบได้ในอาหารจำพวกโปรตีนหมัก (เช่น ปลาร้า ปลาส้ม หมูส้ม แหนม เป็นต้น), อาหารจำพวกเนื้อสัตว์ที่ผสมดินประสิว (เช่น ไส้กรอก กุนเชียง เนื้อเค็ม ปลาเค็ม เป็นต้น) และอาหารรมควัน (เช่น ไส้กรอกรมควัน ปลารมควัน) ก็เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งชนิดนี้ได้ด้วย
สาเหตุโรคมะเร็งตับ
IMAGE SOURCE : www.hopkinsmedicine.org
ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ของการเกิดโรคมะเร็งตับ

เพศ อายุ และถิ่นที่อยู่อาศัย โดยพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิงประมาณ 2-3 เท่า มักพบในคนอายุ 30-70 ปี และพบโรคได้มากขึ้นในคนเหนือและอีสาน (จากมะเร็งท่อน้ำดี)
ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี
ดื่มแอลกอฮอล์จัด ตับแข็ง (โรคมะเร็งตับมักพบร่วมกับภาวะตับแข็งได้ค่อนข้างบ่อย ประมาณ 90-95% ในบางรายงาน ส่วนผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีและซีที่มีภาวะตับแข็งจะมีโอกาสเกิดมะเร็งตับได้ประมาณ 5% ต่อปี และผู้ป่วยตับแข็งจากแอลกอฮอล์จะมีโอกาสเกิดมะเร็งตับได้ประมาณ 1-4% ต่อปี ซึ่งแม้จะหยุดแอลกอฮอล์แล้วความเสี่ยงก็ไม่ได้ลดลง)
การได้รับสารพิษอะฟลาทอกซิน (Aflatoxin) ที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหารเป็นประจำ
โรคทางพันธุกรรมและเมตาบอลิกต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน ซึ่งทำให้เกิดไขมันพอกในตับมาก ๆ และเป็นตับแข็งตามมา
เป็นโรคพยาธิใบไม้ในตับจากการรับประทานปลาดิบหรือสุก ๆ ดิบ ๆ
การได้รับสารไนโตรซามีน (Nitrosamine) ซึ่งเป็นสารพิษที่พบได้ในอาหารจำพวกโปรตีนหมัก อาหารจำพวกเนื้อสัตว์ที่ผสมดินประสิว และอาหารรมควัน
ท่อน้ำดีในตับอักเสบเรื้อรัง ซึ่งมักพบร่วมกับโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง
การได้รับยาหรือสารเคมีบางชนิดเป็นเวลานาน เช่น ยาฮอร์โมนเพศชาย (ใช้สำหรับรักษาโรคโลหิตจางหรือการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ), ยาคุมกำเนิด, สารไวนิลคลอไรด์ (Vinyl chloride), สารหนู, การสูบบุหรี่ เป็นต้น
อาการของโรคมะเร็งตับ
มะเร็งตับ ในระยะแรกผู้ป่วยจะไม่แสดงอาการใด ๆ เลย (ยกเว้นในรายที่เป็นตับแข็งอยู่ก่อนที่จะมีอาการของโรคตับแข็ง) แต่เมื่อก้อนมะเร็งลุกลามมากขึ้น ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลดลง จุกเสียดท้องคล้ายอาการอาหารไม่ย่อย ท้องอืด (เพราะเคมีน้ำดีในตับบกพร่อง) ในบางรายอาจมีอาการปวดหรือเสียวชายโครงด้านขวาโดยไม่มีอาการอื่น ๆ แสดงชัดเจนก็ได้ ซึ่งอาการเหล่านี้มักจะเป็นอยู่เป็นสัปดาห์หรือนานเป็นเดือน โดยที่ผู้ป่วยอาจไม่ทันได้ใส่ใจ หรือคิดว่าเป็นอาการปวดยอดชายโครงหรืออาหารไม่ย่อยทั่วไป

เมื่อก้อนมะเร็งโตมากขึ้น ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลียมากขึ้น รู้สึกแน่นอึดอัดที่บริเวณลิ้นปี่ทั้งวัน มีอาการปวดใต้ชายโครงด้านขวา (ตำแหน่งของตับ) ซึ่งอาจปวดร้าวไปที่ไหล่ขวาหรือใต้สะบักด้านขวา ผู้ป่วยจะเบื่ออาหารมากขึ้น (ไม่รู้สึกอยากอาหาร รับประทานไม่ค่อยได้ เนื่องจากมีน้ำในท้องกดหรือเบียดทับกระเพาะอาหาร) และน้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็วจนคนใกล้ชิดรู้สึกผิดสังเกต ในบางรายอาจมีอาการตาเหลือง ตัวเหลือง ปัสสาวะมีสีเหลืองเข้ม อาจคลำได้ก้อนที่ใต้ชายโครงขวา (ปกติจะคลำไม่ได้) ท้องบวมหรือเท้าบวมทั้ง 2 ข้าง หายใจเหนื่อยหอบ (เนื่องจากมีน้ำในท้องดัน กด หรือเบียดทับปอด) และอาจมีไข้ต่ำ ๆ ร่วมด้วย

นอกจากนี้ ในรายที่มีภาวะตับแข็งระยะท้ายร่วมด้วย ผู้ป่วยอาจมีอาการอาเจียนเป็นเลือด ส่วนในรายที่มีภาวะอุดกั้นของทางเดินน้ำดี ซึ่งมักพบในโรคมะเร็งท่อน้ำดี (CCA) ผู้ป่วยจะมีอาการตาและตัวเหลืองจัด คันตามตัว อุจจาระสีซีด

ส่วนโรคพยาธิใบไม้ตับ ในระยะแรกเริ่มอาจจะยังไม่มีอาการแสดง หรือมีเพียงอาการท้องอืดเฟ้อคล้ายอาหารไม่ย่อย หรือออกร้อนบริเวณชายโครงขวาหรือยอดอก ตรวจอุจจาระพบไข่พยาธิใบไม้ตับ ถ้าไม่ได้รับการรักษา ปล่อยจนเลยวัยกลางคน อาการจะรุนแรงมากขึ้น ผู้ป่วยจะมีอาการท่อน้ำดีอักเสบแทรกซ้อน ทำให้มีอาการไข้ ดีซ่าน ปวดแถวลิ้นปี่หรือใต้ชายโครงขวา อาจเป็น ๆ หาย ๆ หรือเป็นติดต่อกันเรื่อยไป ในที่สุดเมื่อมีโรคมะเร็งของเซลล์ท่อน้ำดีแทรกซ้อน ผู้ป่วยก็จะมีอาการของมะเร็งตับในระยะท้าย โดยจะมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว มีอาการดีซ่าน ท้องมาน (มีน้ำในท้อง)

อาการมะเร็งตับระยะแรก
IMAGE SOURCE : health.alot.com
มะเร็งตับระยะสุดท้าย
IMAGE SOURCE : medical-dictionary.thefreedictionary.com, www.webpathology.com, dxline.info
ระยะของโรคมะเร็งตับ

การแบ่งระยะของโรคมะเร็งตับมีได้หลายแบบ แต่ในภาพรวมจะแบ่งออกเป็น 4 ระยะ เช่นเดียวกับโรคมะเร็งชนิดอื่น ๆ ได้แก่

ระยะที่ 1 ก้อนมะเร็งมีขนาดเล็กและมีเพียงก้อนเดียว
ระยะที่ 2 ก้อนมะเร็งมีการลุกลามเข้าสู่หลอดเลือดในตับ และ/หรือมีก้อนมะเร็งหลายก้อน แต่ยังมีขนาดเล็กอยู่
ระยะที่ 3 ก้อนมะเร็งมีขนาดโตมาก และ/หรือมีการลุกลามเข้าเนื้อเยื่อข้างเคียงตับ และ/หรือลุกลามเข้าหลอดเลือดดำใหญ่ในท้อง และ/หรือลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้ตับ
ระยะที่ 4 โรคมะเร็งแพร่กระจายตามกระแสเลือด มักเข้าสู่ตับกลีบอื่น ๆ และปอด แต่อาจเข้าสู่อวัยวะอื่น ๆ ได้ด้วย เช่น สมอง กระดูก หรือต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ไกลออกไปจากตับ (เช่น ต่อมน้ำเหลืองในช่องท้องหรือบริเวณไหปลาร้า)
มะเร็งตับมีกี่ระยะ
IMAGE SOURCE : www.cancer.gov
ภาวะแทรกซ้อนของโรคมะเร็งตับ
มะเร็งตับอาจแพร่กระจายไปทั่วท้องและอวัยวะต่าง ๆ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บปวดรุนแรง หายใจลำบาก และเกิดอาการผิดปกติของอวัยวะที่มะเร็งแพร่กระจายเข้าไป เช่น อาการผิดปกติทางสมอง อาการปวดกระดูกสันหลัง เป็นต้น
อาจมีการแตกของก้อนมะเร็ง (ทำให้มีเลือดออกในช่องท้องซึ่งเป็นอันตรายได้) หรืออาจมีอาการใจหวิวคล้ายเป็นลมจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เนื่องจากตับถูกทำลายจนไม่สามารถผลิตกลูโคสออกมาในกระแสเลือดได้
ในรายที่มีโรคตับแข็งร่วมด้วย ในระยะท้าย ๆ มักจะมีอาการอาเจียนเป็นเลือด เลือดออกง่าย ภูมิต้านทานต่ำทำให้เป็นโรคติดเชื้อแทรกซ้อนได้ง่าย และในท้ายที่สุดอาจเกิดภาวะตับวาย (มีอาการซึม เพ้อ ชัก หมดสติ)
การวินิจฉัยโรคมะเร็งตับ
การตรวจหามะเร็งตับสามารถแบ่งออกได้ 2 กรณี คือ ในกรณีที่ผู้ป่วยยังไม่มีอาการใด ๆ แต่อาจมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งตับ เช่น ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบีหรือซีเรื้อรัง เป็นโรคตับจากสาเหตุต่าง ๆ หรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งตับ และอีกกรณีหนึ่งคือ เมื่อสงสัยว่ามีอาการจากโรคมะเร็งตับแล้ว คือ คลำได้ก้อนและตรวจพบค่าเลือดผิดปกติ

การวินิจฉัยโรคจะเริ่มจากการซักประวัติการเจ็บป่วยในอดีตและปัจจุบัน (ประวัติการดื่มสุรา การรับประทานอาหาร ถิ่นที่พักอาศัย) และการตรวจร่างกายและอาการที่แสดงของผู้ป่วย เช่น อาการอ่อนเพลีย รูปร่างผอม ปวดชายโครงขวา ตรวจพบตับโตผิดปกติ คือ คลำได้ก้อนแข็งผิวขรุขระที่บริเวณใต้ชายโครงขวา และอาจพบอาการท้องมาน เท้าบวม 2 ข้าง ดีซ่าน หรือไข้ต่ำ ๆ ส่วนในรายที่มีโรคตับแข็งร่วมด้วยมักตรวจพบฝ่ามือแดง จุดแดงรูปแมงมุมขึ้นที่หน้าอก เป็นต้น
ส่วนการตรวจวินิจฉัยผู้ที่ยังไม่มีอาการใด ๆ หรือการตรวจคัดกรอง (Screening) แพทย์มักใช้วิธีการตรวจอัลตราซาวนด์ (Ultrasound) ทางช่องท้องเพื่อตรวจดูตับเป็นหลัก ร่วมกับการเจาะเลือดตรวจดูระดับสารอัลฟาฟีโตโปรตีน (Alpha-fetoprotein – AFP) ซึ่งในผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งตับจะพบระดับของสารอัลฟาฟีโตโปรตีนในเลือดสูงกว่าปกติ (ในมะเร็งตับสูงได้ถึง 40%) โดยในการตรวจคัดกรองนี้แพทย์จะแนะนำให้ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงตรวจคัดกรองทุก ๆ 6 เดือน
ส่วนการตรวจในกรณีที่สงสัยว่าเป็นมะเร็งตับแล้ว แพทย์มักจะใช้การตรวจเริ่มต้นด้วยการตรวจอัลตราซาวนด์ (Ultrasound) และตรวจเลือดดูระดับสารอัลฟาฟีโตโปรตีน (AFP) เหมือนกัน แต่จะมีการตรวจที่ละเอียดเพิ่มเติมด้วยการใช้เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) หรือบางครั้งอาจใช้การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ซึ่งจะให้รายละเอียดเพิ่มเติมได้อย่างชัดเจน เช่น บอกขนาด รูปร่าง จำนวน ปริมาณเลือดที่มาเลี้ยง การกัดกินของอวัยวะข้างเคียง การกินเข้าในหลอดเลือดดำ หรือกระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ ได้ (เช่น ปอด ต่อมน้ำเหลือง ต่อมหมวกไต กระดูก เป็นต้น) อย่างไรก็ตาม การตรวจที่แน่นอนและเชื่อถือได้ 100% คือ การตรวจชิ้นเนื้อตรงตำแหน่งก้อนเนื้อโดยตรง (Biopsy) เมื่อแพทย์มั่นใจแล้วว่าเป็นโรคมะเร็งตับก็อาจจะมีการตรวจอวัยวะอื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีการกระจายไปยังอวัยวะสำคัญอื่น ๆ เช่น การเอกซเรย์ปอด และการสแกนกระดูก (Bone Scan)
มะเร็งตับเกิดจาก
IMAGE SOURCE : www.enpevet.de, www.mayoclinic.org
นอกจากนี้ยังมีการตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีการส่องกล้องตรวจ (Laparoscopy) เข้าไปในช่องท้องเพื่อดูว่ามะเร็งได้แพร่กระจายเข้าท้อง หรือใช้ในการวางแผนก่อนการผ่าตัด และการตรวจเอกซเรย์หลอดเลือด (Angiography) โดยการฉีดสีเข้าไปในเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงตับ เพื่อใช้ในการวางแผนการผ่าตัด เป็นต้น

การแยกโรค

ผู้ที่มีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง ท้องบวม เท้าบวม อาจเกิดจากโรคตับแข็ง ซึ่งผู้ป่วยมักมีประวัติดื่มแอลกอฮอล์จัดมานาน และมักตรวจพบอาการฝ่ามือแดงและมีจุดแดง ๆ ขึ้นที่หน้าอก
ผู้ที่มีอาการอ่อนเพลียและน้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว อาจเกิดจากมะเร็งที่อวัยวะอื่น ๆ เช่น มะเร็งปอด (มีอาการไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด เจ็บหน้าอก), มะเร็งกระเพาะอาหาร (มีอาการปวดท้องคล้ายโรคกระเพาะอาหาร), มะเร็งลำไส้ใหญ่ (มีอาการท้องเดิน ท้องผูก ปวดท้องเรื้อรัง หรือถ่ายเป็นเลือด) เป็นต้น นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากโรคเบาหวาน (มีอาการกระหายน้ำ ปัสสาวะบ่อย หิวบ่อย), วัณโรคปอด (มีอาการไข้และไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด), โรคเอดส์ (มีอาการไข้เรื้อรัง ท้องเดินเรื้อรัง), คอพอกเป็นพิษ (มีอาการเหนื่อยง่าย ใจสั่น มือสั่น ขี้ร้อน เหงื่อออกมาก คอพอก) เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใดก็ตาม ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและเพื่อรับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องตั้งแต่เนิ่น ๆ ต่อไป[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column][vc_column_text css=”.vc_custom_1532235889131{margin-bottom: 0px !important;}”][/vc_column_text][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column][vc_column_text css=”.vc_custom_1532236451652{margin-bottom: 0px !important;}”]มะเร็งตับ (Liver Cancer) เกิดขึ้นเมื่อเซลล์บริเวณตับมีลักษณะหรือการทำงานผิดปกติแล้วพัฒนาเป็นมะเร็งในที่สุด หรืออาจเกิดจากการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งจากบริเวณอื่นมายังตับก็ได้ ซึ่งมะเร็งตับส่วนใหญ่ก็มักมีที่มาจากสาเหตุหลังนี้ ผู้ป่วยโรคมะเร็งตับมักไม่แสดงอาการจนกว่าจะมีขนาดใหญ่ขึ้นมากซึ่งเป็นระยะที่ยากต่อการรักษา

มะเร็งตับ

อาการโรคมะเร็งตับ

โรคมะเร็งตับมักไม่มีสัญญาณหรืออาการบ่งบอกในระยะแรกเริ่ม จนเมื่อมะเร็งพัฒนาถึงขั้นแสดงอาการจึงจะสังเกตได้ดังนี้

น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
ไม่อยากอาหาร รู้สึกอิ่มแม้รับประทานไปเพียงเล็กน้อย

คลื่นไส้ อาเจียน
เจ็บช่องท้องส่วนบน โดยมักจะปวดบริเวณด้านขวา
มีอาการบวมที่ช่องท้องหรือคลำพบก้อนใตชายโครงด้านขวา เนื่องจากตับโต
อาจคลำพบก้อนที่ชายโครงด้านซ้ายเนื่องจากม้ามโต
ผิวหนังและตาเหลือง (ดีซ่าน)
อุจจาระอาจมีสีซีดลง
อ่อนแรงและเหนื่อยล้า
มีอาการคัน
เป็นไข้
สาเหตุโรคมะเร็งตับ

มะเร็งที่ตับเกิดขึ้นจากการที่ดีเอ็นเอในเซลล์ตับเกิดการกลายพันธุ์จนทำให้โครงสร้างเซลล์เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้เซลล์เติบโตขึ้นอย่างผิดปกติและพัฒนาเป็นเนื้องอกในที่สุด สาเหตุหลักของการการเปลี่ยนแปลงนี้ยังไม่ปรากฏแน่ชัด แต่มีปัจจัยที่เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับได้ดังต่อไปนี้

เพศ พบอัตราการเป็นมะเร็งตับในเพศชายสูงกว่าในเพศหญิง
ผู้ป่วยเป็นโรคชนิดอื่นที่สัมพันธ์หรือสามารถพัฒนาไปเป็นมะเร็งตับ ได้แก่
โรคตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสตับอักเสบ บี และไวรัสตับอักเสบ ซี ที่สร้างความเสียหายต่อตับอย่างถาวรและทำให้ตับวายได้
โรคตับแข็ง กว่าครึ่งของผู้ป่วยมะเร็งตับเป็นโรคตับแข็งร่วมด้วย
โรคเบาหวาน
มะเร็งตับอาจสัมพันธ์กับโรคอ้วน และโรคไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มสุราได้ด้วย
โรคตับที่สืบทอดทางพันธุกรรมที่พบได้ไม่บ่อย ได้แก่ ภาวะธาตุเหล็กในตับมากเกิน (Hemochromatosis) ภาวะทองแดงคั่งในร่างกาย (Wilson’s Disease)
การสัมผัสสารอะฟลาท็อกซิน (Aflatoxins) ซึ่งเป็นสารที่เกิดจากเชื้อราตามเมล็ดข้าวโพดหรือถั่วที่เก็บรักษาไม่ดีจนทำให้เกิดเชื้อรา การได้รับอาหารปนเปื้อนเชื้อราจึงเสี่ยงต่อการได่รับสารพิษชนิดนี้และเกิดเป็นมะเร็งตับ ซึ่งพื้นที่ในทวีปแอฟริกาและเอเชียบางส่วนอาจพบการปนเปื้อนจากเชื้อราชนิดนี้
การบริโภคแอลกอฮอล์มากเกินควร พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์จำนวนมากเป็นเวลาติดต่อหลายวันจะก่อให้เกิดอันตรายต่อตับอย่างต่อเนื่องและเสี่ยงต่อการพัฒนาเป็นเซลล์มะเร็ง
การสูบบุหรี่ ผู้ที่ป่วยเป็นไวรัสตับอักเสบอยู่แล้วและมีพฤติกรรมสูบบุหรี่จะยิ่งเสี่ยงเป็นมะเร็งตับยิ่งขึ้น
การได้รับสารเคมีอันตรายจากยากำจัดวัชพืช เช่น สารไวนิล คลอไรด์ (Vinyl Chloride) และสารหนู (Arsenic) ที่อาจพบได้บ่อน้ำที่ไม่ได้มาตรฐานความปลอดภัย เมื่อได้รับเป็นเวลานานอาจเกิดการสะสมจนเกิดโรคต่าง ๆ ตามมามากมาย ไม่เว้นแม้แต่มะเร็งตับ
การใช้อนาโบลิคเสตียรอยด์ (Anabolic steroids) ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชายที่นักกีฬามักใช้เพื่อเพิ่มกล้ามเนื้อ หากใช้เป็นเวลานานจะยิ่งเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับ รวมถึงมะเร็งชนิดอื่น ๆ ด้วย
เชื้อชาติ พบผู้ป่วยโรคตับแข็งที่เป็นชาวเอเชีย ชาวอเมริกัน และชาวเกาะแปซิฟิค ได้บ่อยกว่าชาติอื่น ๆ
การวินิจฉัยโรคมะเร็งตับ

เบื้องต้นแพทย์จะซักถามประวัติและปัจจัยเสี่ยงของผู้ป่วยต่อการเป็นโรคมะเร็งตับ แล้วตรวจร่างกายด้วยการคลำสัมผัสหรือเคาะท้องเพื่อตรวจตับ หลังจากนั้นจึงส่งตรวจเพิ่มเติมเพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำและชัดเจน โดยอาจมีวิธีการดังต่อไปนี้

การตรวจเลือดเพื่อตรวจมะเร็งตับ (Alfa-fetoprotein: AFP) เป็นวิธีตรวจหาค่าโปรตีนที่ผลิตจากเนื้องอกตับ สามารถตรวจหามะเร็งตับในผู้ป่วยได้ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ โดยผู้ป่วยโรคมะเร็งตับจะมีค่าเอเอฟพีสูงกว่าปกติ
การถ่ายภาพตับ การวินิจฉัยด้วยเครื่องอัลตราซาวน์ เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือซีทีสแกน (CT scan) หรือเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อให้แพทย์สามารถมองเห็นตำแหน่งของมะเร็งและปริมาณของเลือดที่มาหล่อเลี้ยงมะเร็งได้อย่างชัดเจน โดยการตรวจด้วยวิธีนี้มักยากที่จะหาแผลหรือรอยโรคที่มีขนาดเล็กกว่า 1 เซ็นติเมตร
การเจาะชิ้นเนื้อตับ (Liver Biopsy) ทำได้โดยการเก็บตัวอย่างจากก้อนที่สงสัยที่ตับเพื่อส่งตรวจเพิ่มเติมว่าจะเป็นเซลล์มะเร็งหรือไม่ ในกรณีที่ผลตรวจการถ่ายภาพและการตรวจทางแล็บระบุแน่นอนแล้วว่าเป็นมะเร็งตับก็ไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่ต้องเจาะชิ้นเนื้อตับเพื่อตรวจอีก เนื่องจากวิธีนี้อาจเสี่ยงทำให้ติดเชื้อ มีเลือดออก หรือเกิดการแพร่เชื้อของมะเร็งไปยังส่วนอื่น ๆ ที่ถูกเข็มเจาะด้วย ซึ่งโอกาสที่จะเกิดการแพร่เชื้อผ่านเข็มดังกล่าวอาจเกิดขึ้นได้ 1-3 เปอร์เซ็นต์ และหากการตรวจชนิดนี้ยังวินิจฉัยไม่ได้แน่ชัด แพทย์อาจจะตรวจด้วยการถ่ายภาพซ้ำอีกครั้ง โดยเว้นระยะห่างการตรวจ 3-6 เดือน
การรักษาโรคมะเร็งตับ

วิธีการรักษาโรคมะเร็งตับขึ้นอยู่กับระยะอาการและการแพร่กระจายของมะเร็ง แพทย์จะให้คำแนะนำเกี่ยวกับการรักษาที่ทำได้ โดยพิจารณาจากอายุและสุขภาพของผู้ป่วย ทั้งนี้ยังขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของตัวผู้ป่วยประกอบด้วย

การผ่าตัด (Surgical Resection) ในระยะเริ่มแรก เมื่อเนื้องอกยังมีขนาดเล็กและอยู่ในส่วนเล็ก ๆ ของตับ การรักษาสามารถทำได้โดยการผ่าตัดเอาชิ้นเนื้อส่วนที่มีมะเร็งออก ปกติแล้วเซลล์ตับสามารถสร้างขึ้นใหม่เอง จึงอาจเป็นไปได้ที่การผ่าตัดชิ้นเนื้อขนาดใหญ่ออกไปจะไม่ส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพของผู้ป่วย

แต่ก็มีผู้ป่วยมะเร็งตับจำนวนมากที่มีความสามารถในการสร้างเซลล์ใหม่ของตับแย่ลงมาก การผ่าตัดนี้จึงอาจไม่ปลอดภัย

การผ่าตัดเอาชิ้นเนื้อร้ายออกจะทำระหว่างการดมยาสลบ แต่วิธีนี้อาจตามมาด้วยภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ เลือดออกหลังการผ่าตัด มีการติดเชื้อ ภาวะหลอดเลือดขาและปอดอุดตัน ปอดบวม น้ำดีรั่วออกจากตับ ตับวาย อาการดีซ่าน เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาสลบได้ หลังจากผ่าตัด แพทย์ต้องเฝ้าระวังอาการของผู้ป่วยต่อเนื่อง และใช้เวลาหลายเดือนกว่าผู้ป่วยจะฟื้นตัวได้เต็มที่

การผ่าตัดเปลี่ยนตับ แพทย์จะเปลี่ยนถ่ายตับใหม่ที่ได้รับบริจาคแทนที่ตับที่มีมะเร็งให้กับผู้ป่วย โดยวิธีนี้สามารถใช้รักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งตับระยะเริ่มแรกที่มีเนื้องอกขนาดเล็กและมีจำนวนไม่มาก ไม่เช่นนั้นจะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งอีกครั้งได้สูง

อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนตับมีความเสี่ยงต่อการมีเลือดออกหรือติดเชื้อหลังผ่าตัด ปอดบวม ผลข้างเคียงจากยาสลบ รวมถึงภาวะต่อต้านตับที่ถูกเปลี่ยนถ่าย การติดเชื้อเนื่องจากระบบภูมิคุ้นกันหยุดทำงานซึ่งเป็นผลจากยาที่ต้องรับประทานหลังผ่าตัด และการเปลี่ยนถ่ายตับในประเทศไทยก็ยังทำได้น้อยอยู่

รังสีรักษา (Radiation Therapy) การรักษาด้วยการฉายรังสีพลังงานสูง เช่น รังสีเอกซเรย์และโปรตอนตรงไปยังเซลล์เพื่อทำลายเซลล์มะเร็งและทำให้เนื้องอกหดตัวเล็กลง การฉายรังสีอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อเซลล์ปกติที่ตับและบริเวณรอบข้างได้ง่าย รวมถึงร่างกายอาจมีอาการอ่อนล้า คลื่นไส้ และอาเจียนได้

เคมีบำบัด (Chemotherapy) การให้ยารับประทานหรือฉีดยาฆ่าเซลล์มะเร็งไปยังหลอดเลือดดำหรือหลอดเลือดแดง หรือเพื่อกำจัดเซลล์มะเร็ง การทำเคมีบำบัดนี้ผู้ป่วยแต่ละรายอาจมีอาการข้างเคียงที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับการตอบสนองของคนไข้และชนิดของยา เช่นฟกช้ำง่าย อ่อนเพลีย คลื่นไส้และอาเจียน ผมร่วง ขาบวม เจ็บปาก และท้องเสีย ซึ่งอาการเหล่านี้มักจะคงอยู่เพียงชั่วคราว

Ablative Therapy การฆ่าเซลล์มะเร็งโดยการฉีดสารเข้าไปที่เนื้อร้ายโดยตรง สารที่ใช้ฉีดอาจเป็นความร้อน เลเซอร์ กรด หรือแอลกอฮอล์ชนิดพิเศษ หรืออาจใช้คลื่นวิทยุก็ได้ วิธีนี้สามารถใช้ในการรักษาเพื่อบรรเทาอาการได้ ในกรณีที่ไม่สามารถผ่าตัด

การให้ยาเจาะจงเซลล์มะเร็ง (Targeted Drug Therapy) เป็นวิธีการใช้ยาเพื่อชะลอหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งตับ โดยเจาะจงกับเซลล์ที่มีความผิดปกติมากขึ้นกว่าการทำเคมีบำบัดทั่วไป

ภาวะแทรกซ้อนของโรคมะเร็งตับ

นอกจากอาการที่ผู้ป่วยมะเร็งตับแสดงและผลแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากการรักษาที่กล่าวไปแล้ว มะเร็งตับยังอาจสามารถแพร่กระจายไปสู่อวัยวะบริเวณอื่น ๆ เช่นตามต่อมน้ำเหลืองหรืออวัยวะที่อยู่ห่างไกลออกไปหรือส่งผลให้มีเลือดออกภายใน เช่น ในระบบทางเดินอาหาร และก้อนเนื้องอกเกิดแตกได้ นอกจากนี้อาจรุนแรงถึงขั้นทำให้ตับวาย ซึ่งมักจะเกิดขึ้นได้ในระยะท้าย ๆ ของโรคมะเร็งตับ

การป้องกันโรคมะเร็งตับ

การป้องกันมะเร็งตับด้วยตนเองสามารถทำได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งตับ โรคตับแข็งเป็นโรคที่สัมพันธ์กับมะเร็งตับอย่างมาก เนื่องจากจะทำให้เกิดแผลในตับจึงเสี่ยงต่อการพัฒนาเป็นเซลล์มะเร็งที่ตับได้สูง

การป้องกันมะเร็งตับจึงควรลดปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจนำไปสู่โรคตับแข็งไปด้วย ได้แก่ การดื่มแอลกอฮอล์ให้พอดี หมั่นออกกำลังกาย ควบคุมน้ำหนักไม่ให้มากเกินไปโดยรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และลดปริมาณไขมันที่บริโภค รวมทั้งระมัดระวังการใช้สารเคมีที่อาจเป็นอันตรายและเสี่ยงต่อโรคตับแข็งตามมา

ไม่เพียงแต่โรคตับแข็งเท่านั้น โรคอื่น ๆ อย่างการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี และไวรัสตับอักเสบ ซี ก็เพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับได้

การป้องกันไวรัสตับอักเสบ บี ทำได้ด้วยการฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบ บี ซึ่งมีประสิทธิภาพในการป้องกันมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ และสามารถฉีดได้ทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นเด็กทารก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ หรือแม้แต่ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอก็ตาม ส่วนไวรัสตับอักเสบ ซี ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อ

การหลีกเลี่ยงการติดต่อเชื้อทั้ง 2 ชนิดจากผู้อื่นยังทำได้ด้วยการสร้างสุขอนามัยที่ดี เช่น ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนที่เสี่ยงติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ไม่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น รวมถึงเข็มที่ใช้สักลายตามร่างกาย ควรเลือกร้านสักที่มั่นใจได้ถึงความสะอาดและสุขอนามัย เป็นต้น

นอกจากนี้ อีกวิธีที่อาจทำได้ก็คือการเข้ารับการตรวจมะเร็ง แต่วิธีนี้ไม่อาจลดหรือป้องกันการเกิดมะเร็งตับได้ เพียงแต่ทำให้ผู้ป่วยรู้ตัวได้ในระยะต้น ๆ โดยทาง AASLD (The American Association for the Study of Liver Diseases) ได้แนะนำให้ผู้ที่คิดว่าตนเสี่ยงเป็นมะเร็งตับหรือมีภาวะใด ๆ ต่อไปนี้เข้ารับการตรวจมะเร็งตับ

ผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี และมีปัจจัยเสี่ยงอย่างอื่นร่วม เช่น เป็นชาวเอเชียหรือแอฟริกัน ป่วยเป็นโรคตับแข็ง หรือมีประวัติบุคคลในครอบครัวป่วยเป็นมะเร็งตับ
ผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี พร้อมกับเป็นโรคตับแข็ง
ผู้ป่วยโรคตับแข็งจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น โรคภูมิแพ้ตัวเอง ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป โรคไขมันพอกตับ โรคทางพันธุกรรมอย่างภาวะธาตุเหล็กในตับมากเกิน
ผู้ป่วยโรคตับแข็งที่เกิดหลังการคั่งของน้ำดี[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column][vc_column_text css=”.vc_custom_1532236507680{margin-bottom: 0px !important;}”]วิธีป้องกันโรคมะเร็งตับ
1-ลดหรือหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์จัด เพราะอาจทำให้เป็นโรคตับแข็งและกลายเป็นมะเร็งตับได้
2-ผู้ที่เป็นพาหะหรือเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสตับอักเสบบีหรือซี ต้องงดการดื่มแอลกอฮอล์อย่างเด็ดขาด และควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจเลือดและตรวจหามะเร็งตับระยะแรกทุก ๆ 6 เดือน เพราะหากตรวจพบแพทย์จะได้ให้การรักษาให้หายขาดได้
3-หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีสารอะฟลาทอกซิน (Aflatoxin) เช่น ถั่วลิสงบด ข้าวโพด หัวหอม พริกแห้ง กระเทียมที่มีราขึ้น เพราะสารพิษชนิดนี้มีความทนทานต่อความร้อน ไม่ถูกทำลายได้ง่ายแม้จะปรุงอาหารด้วยความร้อนก็ตาม
4-หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีสารไนโตรซามีน (Nitrosamine) เช่น อาหารจำพวกโปรตีนหมัก (เช่น ปลาร้า ปลาส้ม หมูส้ม แหนม เป็นต้น), อาหารจำพวกเนื้อสัตว์ที่ผสมดินประสิว (เช่น ไส้กรอก กุนเชียง เนื้อเค็ม ปลาเค็ม เป็นต้น) และอาหารรมควัน (เช่น ปลารมควัน) แต่หากจะรับประทานควรทำให้สุกเสียก่อน เพราะสารนี้ถูกทำลายได้ด้วยความร้อน
5-ไม่รับประทานปลาน้ำจืดแบบดิบ ๆ และถ่ายอุจจาระลงในส้วมที่มิดชิด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคพยาธิใบไม้ตับ (แม้ว่าในปัจจุบันจะมียาที่ใช้ฆ่าพยาธิใบไม้ตับอย่างได้ผลแล้วก็ตาม แต่ถ้ายังไม่เลิกการรับประทานปลาแบบดิบ ๆ และถ่ายกลางทุ่ง ก็ยังคงติดโรคพยาธิได้ซ้ำ ๆ เรื่อยไปอยู่ดี) และผู้ที่อยู่ในถิ่นระบาดของโรคพยาธิใบไม้ตับหรือเป็นผู้ที่นิยมรับประทานปลาน้ำจืดแบบดิบ ๆ ควรไปพบแพทย์เพื่อขอรับการตรวจอุจจาระเพื่อตรวจหาไข่ของพยาธิใบไม้ตับ (ความถี่ในการตรวจนั้นขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์) ถ้าพบว่าเป็นโรคพยาธิใบไม้ตับ ควรรีบรักษาให้หายขาด ทั้งนี้เพื่อเป็นการรักษาโรคให้หายก่อนที่จะเกิดอาการของท่อน้ำดีอักเสบซึ่งอาจกลายเป็นโรคมะเร็งของเซลล์ท่อน้ำดีได้
6-ควรมีมาตรการในการป้องกันสารเคมีต่าง ๆ ทั้งในผู้บริโภคและคนงานมิให้ได้รับสารเคมีเหล่านี้ เช่น สารหนู สารไวนิลคลอไรด์ (Vinyl chloride) เป็นต้น
7-ควรฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีตั้งแต่แรกเกิดให้แก่เด็กทุกราย รวมทั้งให้ความแก่ประชาชนถึงวิธีการติดต่อของไวรัสตับอักเสบบีและซี
8-รักษาสุขอนามัยพื้นฐานโดยการปฏิบัติตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติ 10 ประการ เพื่อให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรงและลดโอกาสการติดเชื้อโรคต่าง ๆ
9-รีบไปพบแพทย์เสมอเมื่อมีอาการผิดปกติดังกล่าว หรือเมื่อมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งตับทั้ง 2 ชนิด[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row]

Scroll to Top