ข่าวเซซามิน มะเร็ง

เซซามิน โรคมะเร็ง

[vc_row][vc_column][vc_column_text css=”.vc_custom_1531904483104{margin-bottom: 0px !important;}”]ข้อมูลเบื้องต้น (General Information)
โรคมะเร็ง (Cancer) พบได้ในทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่จะพบในอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ส่วนในวัยเด็กพบน้อยกว่าในผู้ใหญ่ประมาณ 10 เท่า
โรคมะเร็งที่พบบ่อยของชายไทย เรียงจากลำดับแรก 10 ลำดับ ได้แก่ โรคมะเร็ง ตับ ปอด ลำไส้ใหญ่ ต่อมลูกหมาก ต่อมน้ำเหลือง เม็ดเลือดขาว กระเพาะปัสสาวะ ช่องปาก กระเพาะอาหาร และหลอดอาหาร
โรคมะเร็งพบบ่อยของหญิงไทย เรียงจากลำดับแรก 10 ลำดับ ได้แก่ โรคมะเร็งเต้านม ปากมดลูก ตับ ปอด ลำไส้ใหญ่ รังไข่ เม็ดเลือดขาว ช่องปาก ต่อมไทรอยด์ และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
โรคมะเร็งพบบ่อยในเด็กไทย เรียงจากลำดับแรก 4 ลำดับ ได้แก่ โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โรคเนื้องอก/มะเร็งสมอง และโรคมะเร็งนิวโรบลาสโตมา/Neuroblas toma (มะเร็งของประสาทซิมพาทีติก)
โรคมะเร็งคือ โรคซึ่งเกิดมีเซลล์ผิดปกติในร่างกาย และเซลล์เหล่านี้มีการเจริญเติบโตรวดเร็วเกินปกติ ร่างกายควบคุมไม่ได้ ดังนั้นเซลล์เหล่านี้จึงเจริญลุกลามและแพร่กระจายได้ทั่วร่างกายส่งผลให้เซลล์ปกติของเนื้อเยื่อ/อวัยวะต่างๆ เหล่านั้นล้มเหลวไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ เป็นสาเหตุให้เสียชีวิตในที่สุด ได้แก่ ปอด ตับ สมอง ไต กระดูก และไขกระดูก

ขบวนการเกิดโรคมะเร็ง
เมื่อร่างกายได้รับสารก่อมะเร็ง เช่น สารเคมี ไวรัส รังสี สิ่งเหล่านี้จะทำให้เซลล์เกิดการเปลี่ยนแปลงและในที่สุดเซลล์ปกติก็จะกลายเป็นเซลล์มะเร็ง ถ้าระบบภูมิต้านทานของร่างกายไม่สามารถทำลายเซลล์นั้นได้ เซลล์มะเร็งก็จะแบ่งตัวอย่างรวดเร็วกลายเป็นก้อนมะเร็งต่อไป
สาเหตุของโรคมะเร็ง ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน แต่เชื่อว่ามีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคมะเร็งอยู่หลายประการ ดังนี้
1. สาเหตุจากสิ่งแวดล้อมภายนอกร่างกาย
1.1 สารเคมีบางชนิด เช่น สารเคมีในควันบุหรี่ และเขม่ารถยนต์
สารพิษจากเชื้อรา สารพิษที่เกิดจากเนื้อสัตว์รมควัน ปิ้ง ย่าง ทอด จนไหม้เกรียม สีย้อมผ้า สารเคมีบางชนิดที่เกิดจากขบวนการทางอุตสาหกรรม
1.2 รังสีต่างๆ รวมทั้งรังสีอุลตร้าไวโอเลตในแสงแดด
1.3 การติดเชื้อเรื้อรัง เช่น ไวรัสตับอักเสบ ชนิด บี มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็งตับ ฮิวแมน แพพพิโลมา ไวรัส (Human Papilloma Virus หรือ HPV) อาจมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็งของเซลล์เยื่อบุต่างๆ เช่น มะเร็งปากมดลูก
เอบสไตน์ บาร์ ไวรัส (Epstein Barr Virus) มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองหรือมะเร็งโพรงหลังจมูก
เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลรัย (Helicobacter Pylori) มีความสัมพันธ์กับมะเร็งกระเพาะอาหาร
1.4 พยาธิ เช่น พยาธิใบไม้ตับ มีความสัมพันธ์กับมะเร็งท่อน้ำดีในตับ
2. สาเหตุภายในร่างกาย เช่น
2.1 กรรมพันธ์ที่ผิดปกติ
2.2 ความไม่สมดุลทางฮอร์โมน
2.3 ภูมิคุ้มกันที่บกพร่อง
2.4 การระคายเคืองที่เกิดซ้ำๆ เป็นเวลานาน
2.5 ภาวะทุพโภชนาการ เป็นต้น
อาการของโรคมะเร็ง
ไม่มีอาการเฉพาะของโรคมะเร็ง แต่เป็นอาการเช่นเดียวกับการอักเสบของเนื้อเยื่อ/อวัยวะที่เป็นมะเร็ง โดยที่แตกต่างคือ มักเป็นอาการที่แย่ลงเรื่อยๆ และเรื้อรัง ดังนั้นเมื่อมีอาการต่างๆ นานเกิน 1 – 2 สัปดาห์ จึงควรรีบพบแพทย์ อย่างไรก็ตาม อาการที่น่าสงสัยว่าเป็นมะเร็ง ได้แก่ มีก้อนเนื้อโตเร็ว หรือ มีแผลเรื้อรัง ไม่หายภายใน 1 – 2 สัปดาห์ หลังจากการดูแลตนเองในเบื้องตัน
มีต่อมน้ำเหลืองโต คลำได้ มักจะแข็ง ไม่เจ็บ และโตขึ้นเรื่อยๆ
ไฝ ปาน หูด ที่โตเร็วผิดปกติ หรือ เป็นแผลแตก
หายใจ หรือ มีกลิ่นปากรุนแรงจากที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
เลือดกำเดาออกเรื้อรัง มักออกเพียงข้างเดียว (อาจออกทั้งสองข้างได้)
ไอเรื้อรัง หรือ ไอเป็นเลือด มีเสมหะ น้ำลาย หรือ เสลดปนเลือดบ่อย อาเจียนเป็นเลือด ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะบ่อย ขัดลำ ปัสสาวะเล็ด โดยไม่เคยเป็นมาก่อน อุจจาระเป็นเลือด มูก หรือเป็นมูกเลือด ท้องผูก สลับท้องสีย โดยไม่เคยเป็นมาก่อน
มีเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ หรือ มีประจำเดือนผิดปกติ หรือมีเลือดออกทางช่องคลอดในวัยหมดประจำเดือน หรือหลังมีเพศสัมพันธ์ทั้งที่ไม่เคยมีมาก่อน
ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่น อึดอัดท้อง โดยไม่เคยเป็นมาก่อน
มีไข้ต่ำๆ หาสาเหตุไม่ได้ มีไข้สูงบ่อย หาสาเหตุไม่ได้ ผอมลงมากใน 6 เดือน น้ำหนักลดลงจากเดิม 10% มีจ้ำห้อเลือดง่าย หรือ มีจุดแดงคล้ายไข้เลือดออกตามผิวหนังบ่อย ปวดศีรษะรุนแรงเรื้อรัง หรือ แขน/ขาอ่อนแรง หรือ ชักโดยไม่เคยชักมาก่อน
ปวดหลังเรื้อรัง และปวดมากขึ้นเรื่อยๆ อาจร่วมกับ แขน/ขาอ่อนแรง[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column][vc_column_text css=”.vc_custom_1514631840563{margin-bottom: 0px !important;}”]☆☆☆☆☆เซซามินสามารถทำให้เซลล์มะเร็งบางชนิดเข้าสู่กระบวนการ APOPTOSIS หรือขบวนการทางชีวเคมีที่ทำให้เซลล์ตาย[/vc_column_text][vc_column_text css=”.vc_custom_1514631830526{margin-bottom: 0px !important;}”]☆☆☆☆☆ สามารถยับยั้งการลุกลาม หรือขบวนการ ANGIOGENESIS ของมะเร็งบางชนิดได้[/vc_column_text][vc_column_text css=”.vc_custom_1514631847854{margin-bottom: 0px !important;}”]☆☆☆☆☆ กระตุ้นให้มีการสร้างสาร INTERLEKIN-2 (IL-2) และ INTERFERON-GAMMA (IFN-GAMMA) จากเม็ดเลือดขาว[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column][vc_column_text css=”.vc_custom_1531903599313{margin-bottom: 0px !important;}”][/vc_column_text][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column width=”1/2″][vc_column_text css=”.vc_custom_1531904056806{margin-bottom: 0px !important;}”][/vc_column_text][/vc_column][vc_column width=”1/2″][vc_column_text css=”.vc_custom_1531903371602{margin-bottom: 0px !important;}”]อาการแรกๆมะเร็งเม็ดเลือดขาว
1. อาการแรกที่เป็น คือ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ซีด อ่อนเพลียง่าย อันนี้เป็นลักษณะเดิมทั่วไปทั้งหลาย
2. มีเลือดออกง่าย เพราะมะเร็งเม็ดเลือดขาวจะมีเกร็ดเลือดต่ำ จึงทำให้เลือดออกง่าย เช่น ออกตามไรฟัน มีจ่ำเขียวขึ้นบนตามตัว หรือมีประจำเดือนมากผิดปกติ
3. มีเม็ดเลือดขาวปริมาณมากแต่ทำหน้าที่ไม่ได้ตามเท่าที่จะเป็น เฉพาะเม็ดเลือดขาวมีหน้าที่ต่อ สู้กับเชื้อโรค แต่เมื่อเป็นอย่างนี้ก็ต่อสู้เชื้อโรคไม่ได้ ก็มีการติดเชื้อง่ายมีไข้ มีการติดเชื้อในตำแหน่งต่างๆ
4. เม็ดเลือดขาวไปบีบบังอวัยวะต่าง ๆ หรือสะสมอยู่ ก็ทำให้มีก้อนขึ้นที่ขาหนีบ ต่อมน้ำเหลือง ขา คอ หรือมีตับ ม้ามโต

เราจะมีการตรวจ และวินิจฉัยโรคอย่างไรบ้างให้เราทราบอย่างชัดเจนว่าเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
ขั้นแรก เราต้องเจาะเลือดตรวจว่ามีความผิดปกติ แล้วก็พบเซลล์เม็ดเลือดตัวอ่อนของเม็ดเลือดขาวต่อไปเราก็จะทำการยืนยันโดยการเจาะไขกระดูก เพื่อดูให้ชัดเจนอีกครั้งว่ามีการขยายตัวในไขกระดูกจริง[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column][vc_column_text css=”.vc_custom_1531903666029{margin-bottom: 0px !important;}”][/vc_column_text][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column][/vc_column][/vc_row]

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *


The reCAPTCHA verification period has expired. Please reload the page.

Scroll to Top